การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

จิตติโชติ แจ่มแจ้ง
นวรัตน์ ประทุมตา
อภิชาติ เลนะนันท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเพชรบุรีและ 2) วิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้การวิจัยมี 1 ฉบับเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกประเภท


ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มสูงโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากได้แก่ ผู้บริหาร (gif.latex?\bar{x} = 4.44) สภาพแวดล้อมโรงเรียน (gif.latex?\bar{x} = 4.41) ครู (gif.latex?\bar{x} = 4.36) ผู้ปกครอง (gif.latex?\bar{x} = 4.12) และนักเรียน (gif.latex?\bar{x} = 4.06) ตามลำดับ กลุ่มต่ำโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากได้แก่ ผู้บริหาร (gif.latex?\bar{x} = 4.36) สภาพแวดล้อมโรงเรียน (gif.latex?\bar{x} = 4.33) ครู (gif.latex?\bar{x} = 4.07) นักเรียน (gif.latex?\bar{x} = 4.00) และผู้ปกครอง (gif.latex?\bar{x} = 3.74) ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่สามารถจำแนกคุณภาพผู้เรียนในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเพชรบุรีระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ได้แก่ ด้านผู้บริหาร คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลง (x2) ด้านนักเรียน คือ เจตคติต่อการเรียน (x10) และด้านผู้ปกครอง คือ การส่งเสริมสนับสนุนจากผู้ปกครอง (x12) สามารถเขียนเป็นสมการจำแนกกลุ่มได้ดังนี้ D =-5.033+1.198(x2)-1.941(x10)+1.894(x12)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chantamit, N. (2015). Chantamit Factors Related to Academic Achievement of Prathomsuksa 6 Student in Banmabtaput School under the Office of Rayong Elementary Education Service Area 1. (Doctoral Dissertation). Burapha University. Chonburi.

Gerdruang, A. (2017). Empowering Learning in the 21st Century for Thailand Society in the Digital Age. (Master’s Thesis). Lampang Rajabhat University. Lampang.

Maitaouthong, T. (2014). Media Literacy: Skill for 21st Century Learning. Journal of Information Science, 32(3), 74-91.

Ministry of Education. (2019). Transform Learning Stepping into the Digital Age. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Co., Ltd.

Montha, K. (2018). Factors Effecting the Quality of School under the Office of Bangkok Primary Education Service Area. (Doctoral Dissertation). Siam University. Bangkok.

Office of the Administration of Upper Secondary Education. (2010). Digital Literacy World-class Standard School. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand., Ltd.

Prathum, C. (2016). Factors Affecting the School Effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 27. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.

Sintukhet, P. (2017). Study This Era. (Digital Era): Thailand 4.0. in Govittayangkull, P. (Ed.), National Academic Conference on Education: NACE 2017 (pp 98-110). Lampang: Faculty of Education, Lampang Rajabhat University.