การพัฒนาระบบประเมินการสอนด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา

Main Article Content

กุลิสรา สุวรรณ
ไพโรจน์ สถิรยากร
พิสิฐ เมธาภัทร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการประเมินการสอนด้วยตนเองและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบประเมินการสอนด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา 2) เพื่อพัฒนาและประเมินความเหมาะสมของระบบประเมินการสอนด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบประเมินการสอนด้วยตนเอง ได้แก่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้าแผนกวิชา และครูผู้สอน จากสถานศึกษารัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 1,767 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินความเหมาะสมของระบบประเมินการสอนด้วยตนเอง ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนักวิชาการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 9 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการประเมินการสอนด้วยตนเองและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบประเมินการสอนด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จัดลำดับความสำคัญของสภาพปัญหาจากกลุ่มตัวอย่าง โดยมีผลการวิจัยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความต้องการพัฒนา ด้านหัวข้อที่ต้องการในการพัฒนาระบบประเมินการสอนด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา และด้านสภาพปัญหาการประเมินการสอนด้วยตนเองส่วนความต้องการจำเป็นจาก 2 กลุ่มที่เกี่ยวข้อง พบว่า การประเมินคุณภาพการเตรียมการสอน มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด PNIModified เท่ากับ 0.41 2) ระบบการประเมินการสอนด้วยตนเองประกอบด้วย 1) การประเมินคุณภาพการเตรียมการสอน ได้แก่ 1.1) การวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชา 1.2) การวิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้ 1.3) การเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1.4) การสร้างใบเนื้อหา 1.5) การออกแบบและสร้างสื่อการสอน 1.6) การสร้างแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ และ1.7) การวางแผนและเขียนแผนการสอนทฤษฎี 2) การประเมินคุณภาพการสอน ได้แก่ 2.1) เทคนิควิธีการสอน 2.2) กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการสอน และ2.3) การสร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้ 3) การปรับปรุงคุณภาพการสอน ได้แก่ 3.1) ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ และ 3.2) ปรับปรุงวิธีการสอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boud, D. (2003). Enhancing Learning Through Self Assessment. New York: Routledge Falmer.

Cantu, D. V. (2015). Applying Reflection and Self-assessement Practices to Integrative STEM Lessons: A Design Based Research Study to Develop an Instrument for Elementary Practitioners. (Doctoral Dissertation). Old Dominion University. USA.

Fletcher, & Baldry. (2000). Multi-source Feedback Systems: A Research Perspective. In International Review of Industrial and Organizational Psychology Vol. 14. (C. L. Cooper & I. T. Robertson, Eds.). New York: John Wiley & Sons.

Johnson, A. P. (2000). It’s Time for Madeline Hunter to Go: A New Look at Lesson Plan Design. Action in Teacher Education, 22(1), 72-78.

Kiddee, K. (2004). The Development of an Assessment Model for Teaching and Learning Management at Focusing on the Students is Important. Bangkok: Chulalongkorn University.

Kijpreedabrisuth, B. (1992). Measurement and Evaluation of Teaching and Learning. (2nd ed.). Bangkok: B & B Publishing.

Kyriakides, L., & Campbell, R. J. (2004). School Self-evaluation and School Improvement: A Critique of Values and Procedures. Studies in Educational Evaluation, 30(1), 23-36.

Noppakhun, J. (2018). Reflective Thinking Through Sketchbook Journals of Teacher Students of Early Childhood Education of Suan Dusit University. Suan Dusit Graduate School Academic Journal, 14(3), 307-322.

Ruengtragul, A., & Damrongpanit, S. (2008). Self-assessment for Development in Fulfilling Knowledge: Knowing, Thinking, Doing. Virtue Center. (N.P.)

Sridhrungsri, P. (2009). Education in Thailand in the Future 10-20 Years. Retrieved January 3, 2023, from https://www.dpu.ac.th/ces/upload/km/1406790542.pdf

Thanachawengsakul, N., & Jeerangsuwan, N. (2018). Instructional Model of MIAP on Cloud Computing Technology of the Undergraduate Students in Order to Promote 21st Century Learning Skill. Journal of Education Naresuan University, 20(4), 58-69.