ภาพแทนธรรมชาติในบททำขวัญไทยและเขมร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพแทนธรรมชาติในบททำขวัญไทยและเขมร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประเภทการวิจัยเอกสาร เป็นแนวคิดสำคัญในการวิเคราะห์ รวมทั้งประยุกต์การใช้แนวคิดภาพแทนธรรมชาติและแนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศที่ปรากฏในตัวบททำขวัญไทยและเขมรที่มีเนื้อหากล่าวถึงธรรมชาติ โดยเป็นการศึกษาเชิงเอกสารผ่านตัวบททำขวัญจำนวนทั้งหมด 6 บท ประกอบด้วย ทำขวัญไทย ประกอบด้วย 1) บททำขวัญข้าว 2 บททำขวัญนา และ 3) บททำขวัญกระบือ จำนวน 3 บท ส่วนบททำขวัญเขมร คือ 1) บททำขวัญข้าว ออกเสียงในภาษาเขมรว่า เฮาปรอลึงซเริว 2) บททำขวัญสัตว์ ออกเสียงในภาษาเขมรว่า เฮาปรอลึงซัต สำนวน และ 3) บททำขวัญคนเจ็บป่วย ออกเสียงในภาษาเขมรว่า เฮาปรอลึงเนียะจุมงือ จำนวน 3 บท
ผลการวิจัยพบว่า บททำขวัญไทยและเขมรได้แสดงให้เห็นถึงภาพแทนธรรมชาติทางกายภาพในหลายด้านอันเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ระว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ภาพแทนธรรมชาติที่ปรากฏ มี 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ภาพแทนธรรมชาติในฐานะเป็นความจริงโลกพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ผ่านภาพธรรมชาติของสถานที่ทางธรรมชาติทั้งที่เกี่ยวกับท้องฟ้า แหล่งน้ำ ภูเขา ถ้ำผา และความศักดิ์สิทธิ์ในประกอบพิธีทำขวัญ 2) ภาพแทนธรรมชาติในฐานะะความโหดร้ายอันตรายโดยสะท้อนผ่านความอันตรายจากสัตว์ที่ปรากฏในบททำขวัญ และ 3) ภาพแทนธรรมชาติในฐานะความอุดมสมบูรณ์ ผ่านบททำขวัญที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ คือบททำขวัญข้าวและบททำขวัญกระบือ ภาพแทนธรรมชาติในบททำขวัญไทยและเขมรเป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ระว่างมนุษย์กับธรรมชาติในลักษณะของการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วยการพึ่งพาและเกื้อกูลกันรวมถึงการบอกเตือนถึงความอันตรายและความโหดร้ายของธรรมชาติผ่านสัตว์ป่าหากมองในอีกด้านหนึ่งก็สะท้อนถึงความอันตรายของมนุษย์จากการแสดงพฤติกรรมของสัตว์ป่าในแนวคิดของการวิจารณ์เชิงนิเวศในบททำขวัญที่ปรากฏในงานวิจัยนี้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Aung, J. (2019). Haw Praling Srew. Yosothor. Retrieved March 30, 2021, from http://www.yosothor.org/publications/khmer-renaissance/chapter-six/
Glotfelty, Ch. (1996). The Ecocriticism Reader: Landmarks in Literary Ecology. London: University of Georgia Press.
Hall, S. (1997). Representation: Cultural Representations and Signifying Practices. London: Sage.
Heise, U. K. (1997). Science and Ecocriticism. The American Book Review, 18(5), 4-7.
Hongsuwan, P. (2018). Folklore and Social. KhonKaen: Klangnana.
Khing, H. (2004). Notes Sur La Ceremonie de L’appel des Esprits Vitaux. Phnom Penh: Angkor.
Kui, H. (1970). Haw Praling Sat. Kampusuriya. Retrieved March 30, 2021, from www.budinst.gov.kh/
Na Thalang, S. (2014). Folklore Theory: Methodology for Myths and Folktales. Bangkok: Chulalongkorn University.
National Library of Thailand, Manuscripts and Inscriptions Group. (n.d.). Ms. No. 288. Category Literature. Sub Rai. Thai Language.
______. (n.d.). Ms. No. 293. Category Literature. Sub Rai. Thai Language.
______. (n.d.). Ms. No. 294. Category Literature. Sub Rai. Thai Language.
The Royal Institute Edition. (2013). Dictionary of the Royal Institute B.E. 2554. (2nd ed.). Bangkok: Nanmeebooks Publication.
Sangkhaphanthanon, T. (2010). Ecocriticism: Discourse of Nature and Environments in Thai Literature. Phitsanulok. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.
______. (2017). Take Only the Beast: Animal Study of Ecocriticism. Prathumthani: Nakorn.
Satienkoses, A. (1963). Khwan and Tham Khwan Ceremony. Bangkok: Kawnaa.