กระบวนการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายของเกษตรกรในการพัฒนาตนเอง ให้เป็นเกษตรกรอัจฉริยะ

Main Article Content

ปัณณิกา งามเจริญ
หลี่ เหรินเหลียง

บทคัดย่อ

การเรียนรู้จากเครือข่ายเป็นปัจจัยสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาภาคส่วนของการทำเกษตรกรรม เนื่องจากกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนที่ทุกคนมีส่วนร่วมจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร โดยเน้นการนำแนวคิดการเรียนรู้ ประสบการณ์ทางเกษตรของสมาชิกในกลุ่มเครือข่ายมาใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายของเกษตรกรในการพัฒนาตนเองให้เป็นเกษตรอัจฉริยะ ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ในกระบวนการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายของเกษตรกร ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการศึกษาแบบคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างควบคู่ไปกับการสังเกตการณ์จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเจ้าของฟาร์มผักออแกนิกส์ กลุ่มพนักงานข้าราชการท้องถิ่นและกลุ่มเจ้าหน้าที่หรือพนักงานในสถานศึกษาในท้องถิ่น  ที่เกี่ยวข้อง จำนวน12 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ โดยการรวบรวม ข้อมูลที่ได้มาจัดแบ่งประเภทหมวดหมู่ จัดระบบของข้อมูลและแยกประเภทของข้อมูลตามประเด็นที่กำหนดไว้และวิเคราะห์ข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายของเกษตรกรจะเริ่มจาก เกิดปัญหาในตนหรือความต้องการที่จะพัฒนาตนเองของสมาชิกในเครือข่าย ลำดับที่สองคือสมาชิกในเครือข่ายมีการแลกเปลี่ยนปัญหาร่วมกัน ลำดับที่สามคือมีการสร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ สรุปบทเรียนและนำไปปฏิบัติร่วมกัน ลำดับที่สี่คือ การประเมินผลและปรับปรุงให้เหมาะสมลำดับที่ห้าคือกิจกรรมมีความต่อเนื่องและขยายขอบเขตความร่วมมือเพื่อสร้างความสัมพันธ์และแสวงหาองค์ความรู้ 2) ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือกิจกรรมไม่เกิดความต่อเนื่องเมื่อเกิดปัญหาจึงค่อยกลับมารวมกลุ่มหารือกันทำให้การแก้ไขเป็นไปอย่างล่าช้า เช่น ปัญหาศัตรูพืช นอกจากนี้ยังพบปัญหาการทำงานที่ทับซ้อนกันของภาครัฐรวมถึงการขาดการประสานงานอย่างต่อเนื่องในระหว่างองค์กรทำให้การให้ความรู้ไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนรู้ของเกษตรกรภาครัฐจึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันและส่งเสริมการทำกิจกรรมในระดับท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ควรใช้การบูรณาการและประสานงานกันในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ สถานศึกษา รวมถึงกลุ่มความร่วมมือของเกษตรกรเอง ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้ในกลุ่มเครือข่ายสามารถนำไปปรับปรุงพัฒนาสร้างองค์ความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกรอันจะหมายถึงความมั่นคงในการดำเนินชีวิต ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพการทำเกษตรกรรมให้ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Fry, L. W. (2005). Toward a Theory of Spiritual Leadership. The Leadership Quarterly, 14, 693-727.

Jingjit, R. (2013). Insight into “Smart Farmer” Just a New Concept or to Transform Thai Agriculture. Retrieved June 10, 2022, from http://tpso.moc.go.th/img/news/1074-img.pdf

Kamphaengphet, M. (2017). Development Model of Establishing Smart Farmer in Organic Farm Business of Thailand 4.0. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Kerdcharoen, T. (2007). Smart Farm, Part 1. Update Journal, 22(241), 93-96.

Maikaensarn, W., & Mhunkham, M. (2014). Changes in the Agribusiness Sector under the Context of the Future World. Panyapiwat Journal, 5(Special Issue (May)), 244-254.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2021). Summary of the Development Plan. National Economy and Society Twelfth Edition 2017-2021. Bangkok: Development Committee National Economic and Social Leadership for Prime Minister.

______. (2017). National Strategy Phase 20 Years (2017-2036). Bangkok: Development Committee National Economic and Social Leadership for Prime Minister.

Office of the Permanent Secretary for Interior. (2019). Local Development Plan 2018-2022. Retrieved March 7, 2021, from https://www.pakchongsao.go.th/fileupload/6165.pdf