การจัดการเครือข่ายที่อยู่อาศัยริมคลองของกรุงเทพมหานคร: การศึกษาโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยบ้านมั่นคงริมคลองลาดพร้าว

Main Article Content

สัจจา พุกสุขสกุล
รวิภา ธรรมโชติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาท รูปแบบและกระบวนการในการจัดการเครือข่ายของภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ผ่านการจัดการแบบร่วมมือกันหลายภาคส่วนที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยบ้านมั่นคงริมคลองลาดพร้าว ซึ่งเป็นโครงการที่ภาครัฐใช้แก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ในโครงการ 3 กลุ่ม คือ 1) ภาครัฐ 2) ภาคประชาชน และ 3) ภาคเอกชน ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลแบบหลากหลายวิธี ได้แก่ วิธีสัมภาษณ์สนทนากลุ่ม วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ใช้วิธีคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 24 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก และแบบสัมภาษณ์ในการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการตีความ    


ผลการวิจัยพบว่า ภาครัฐต่างดำเนินการไปตามหน้าที่ความรับผิดชอบของงาน มีการรวมกลุ่มทำงาน ประสานความร่วมมือ ทำให้เกิดเครือข่ายที่แข็งแกร่ง ทำหน้าที่มีเป้าหมายร่วมเดียวกัน ภาคประชาชนได้รวมตัวเจรจาต่อรองกับภาครัฐให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ภาคเอกชนเป็นส่วนสนับสนุนความสำเร็จในเชิงประจักษ์ นอกจากนี้พบว่า รูปแบบการจัดการเครือข่ายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้โครงการประสบความสำเร็จ คือ การใช้วิธีจัดการเครือข่ายแบบร่วมมือกันหลายภาคส่วน ประกอบด้วย 1) ภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กรมธนารักษ์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง สำนักการระบายน้ำ 2) ภาคประชาชน ได้แก่ กลุ่มผู้อาศัยในชุมชน และ 3) ภาคเอกชน ได้แก่ ผู้รับเหมาก่อสร้าง สรุปว่า ความสำเร็จของโครงการช่วยให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น การดำเนินโครงการแบบความร่วมมือต้องอาศัยการบูรณาการร่วมกันของหลายภาคส่วนที่ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน และต้องอาศัยความจริงใจ และการสร้างความไว้วางใจกัน

Article Details

How to Cite
พุกสุขสกุล ส., & ธรรมโชติ ร. . (2023). การจัดการเครือข่ายที่อยู่อาศัยริมคลองของกรุงเทพมหานคร: การศึกษาโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยบ้านมั่นคงริมคลองลาดพร้าว. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(4), 1533–1548. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/268393
บท
บทความวิจัย

References

Bevir, M. (2010). Democratic Governance. New Jersey: Princeton University Press.

_____. (2011). The Sage Handbook of Governance. London: Sage.

_____. (2013). A Theory of Governance. California: University of California Press.

Community Organizations Development Institute (Public Organization). (2022). New Home-New Life of the Community Along the Klong Lat Phrao-Prem Prachakorn. Retrieved September 25, 2022, from https://web.codi.or.th/20210716-25758

Enroth, H. (2011). Policy Network Theory. London: The Sage Handbook of Governance.

Goldsmith, S., & Eggers, W. D. (2009). Governing by Network: The New Shape of the Public Sector (Tingsapat and Pramotethana, Translator). Bangkok: Expernet Press.

Head, B. W. (2022). Wicked Problems in Public Policy Understanding and Responding to Complex Challenges. Cham: Palgrave Macmillan.

Intaprom, W. (2022). Administration and Development of Public Policy Networks. (2nd ed.). Bangkok: Naphatcopy.

Jansiri, N. (2015). Network Governance in Public Policy Processes. Walailak Abode of Culture Journal, 15(1), 145-153.

Kapucu, N. (2014). Collaborative Governance and Disaster Recovery: The National Disaster Recovery Framework (NDRF) in the US. In Disaster Recovery (pp. 41-59). Tokyo: Springer.

Klijn, E. H., & Koppenjan, J. (2015). Governance Networks in the Public Sector. London: Routledge Publisher.

Nimpanich, C., & Ungkulwongwatana, U. (N.D.). Public Administration in the 21st Century Network Administration and Cooperative Administration.

Peters, B. G. (2017). What Is so Wicked about Wicked Problems?: A Conceptual Analysis and a Research Program. Policy and Society, 36(3), 385-396.

Phosita, C. (2004). The Science and Art of Qualitative Research. Bangkok: Institute for Population and Social Research, Mahidol University.

Sirorot, P. (2014). Government Management and Public Policy. Journal of Politics and Governance, 4(2), 1-12.

Tantrajin, P. (2020). Review Article Collaborative Governance: Factors Affecting Its Formation and Implementations. Burapha Journal of Political Economy, 8(1), 139 - 162.

The Association of Siamese Architect under Royal Patronage. (2022). Building Control Law. Retrieved September 25, 2022, from https://asa.or.th/laws

Yokee, M., & Sahapattana, P. (2021). Policy Successes and Failures: “Waterside Housing Development Project”. NRRU Community Research Journal, 15(4), 13-27.