ปัจจัยและพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอดีต 2. ระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา 3. ผลกระทบจาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับผลกระทบที่เกิดขึ้น และ 5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วิธีการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 334 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (f) หาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi- Square)
ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์ เพศชายเคยดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าเพศหญิง และเริ่มดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกที่อายุน้อยกว่าเพศหญิง โดยครั้งแรกที่อายุ 7 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 16 ปี นิยมดื่มกับเพื่อน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยม คือเบียร์ มีปริมาณมากกว่า 3 แก้วต่อครั้ง เหตุจูงใจในการดื่มคือ การทดลองดื่ม 2. ระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา เพศชายส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในระดับเสี่ยงปานกลาง และเพศหญิงมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในระดับเสี่ยงน้อย 3. กลุ่มตัวอย่างยอมรับและผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดปัญหาทางการเงิน ทำให้มีความรู้สึกผิดหรือเสียใจเมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทำให้เกิดผลเสียต่อการเรียนและการทำงาน 4. ความสัมพันธ์ระหว่างระดับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์กับระดับการยอมรับผลกระทบจาก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 5. ปัจจัยด้านเพศ ชั้นปี และที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value < .05 ) ผู้ที่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับอันตรายมากเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ชั้นปีที่สูงกว่าจะมีผู้ที่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในระดับอันตรายมาก และผู้ที่อยู่หอพักภายนอกมหาวิทยาลัยมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับอันตรายมากกว่าผู้ที่พักในมหาวิทยาลัย ส่วนปัจจัยด้าน อายุ สาขาวิชา กลุ่มวิชาและหลักสูตร ไม่มีความสำคัญกับระดับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Assanangkornchai, S. (2006). Alcohol Screening. Chiangmai: Plan to Develop a Care System for People with Alcohol Problems.
Bio-based Economic Development Office (Public organization). (2023). Keang Suea Ten Community Enterprise, Ban Mae Ten, Saiap Subdistrict, Song District, Phrae Province. Retrieved June 15, 2023, from http://bedocommunity.com/?p=5276
Boonsomboonsakul, M. (2022). How Much Alcohol Do Thai People Consumption? Retrieved June 15, 2023, from https://www.agenda.co.th/social/alcohol-consumption-thailand/
Centre for Alcohol Studies (CAS) by SCT. (2020). Annual per Capita Consumption; APC. Retrieved June 15, 2023, from https://alcoholstudy.in.th/index.php?ct=report_ drinker&proc=main&year1=2564&year2=5&chart_id=2
Chaikan, A., & Chaikan, A. (2017). Alcohol Drinking Behaviors among Undergraduate Students of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University, Phranakhon Si Ayutthaya Province. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 7(1), 103-113.
Delgado-Lobete, L. et al. (2020). Individual and Environmental Factors Associated with Tobacco Smoking, Alcohol Abuse and Illegal Drug Consumption in University Students: A Mediating Analysis. Retrieved June 15, 2023, from https://www.mdpi.com/1660-4601/17/9/3019
Htet, H. et al. (2020). Prevalence of Alcohol Consumption and Its Risk Factors among University Students: A Cross-sectional Study Across Six Universities in Myanmar. Retrieved June 15, 2023, from https://doi.org/10.1371/journal.pone.0229329
Kitpreedasutsut, B. (2010). Research Guide Report Writing Research and Thesis. (10th ed.). Bangkok: Department of Education Faculty of Social Sciences and Humanities Mahidol University.
Ksinan, A. J. et al. (2023). Association Between Parental Supply of Alcohol and Later Adolescent Alcohol Use in a Highly Permissive Context. Journal of Students on Alcohol and Drugs, 84(1), 27-36.
National Statistical Office. (2023). National Health Literacy Survey 2022. Retrieved June 15, 2023, from http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/ActivityNSO/2563/12/A22-12-63-3.aspx
Pathumsriwirot, W. (2018). Impact Resulting of Alcohol Behaviors among of Rangsit University Student. Journal of Rangsit Graduate Studies and Social Sciences, 4(2), 258-272.
Pukcharoen, V. (2016). Factors Related to Beer Drinking among University Students. Public Health & Health Laws Journal, 2(2), 161-172.
Serirat, S. et al. (1998). Marketing Management in the New Era. Bangkok: Thira Film and Saitex Co., Ltd.
Sihapark, S. et al. (2020). Alcohol Consumption Situations and Perceptions Regarding Provincial Alcohol Control in Khon Kaen Province. Health Promotion Center 9 Journal, 14(35), 362-373.
Sornpaisarn, B. et al. (2010). Thailand Annual Report Alcohol 2010 of Center of Alcohol Studies. Nonthaburi: Center of Alcohol Studies Nonthaburi.
Suparan, K. (2019). A Study of the Association between Alcohol Consumption, Road Accidents, Learning Behavior and Academic Achievement in University Students. Chiang Mai Medical Journal, 58(3), 133-143.
Waleewong, O. (2014). Alcohol’s Harm to Others in Thailand: Concept, Situation and Gap in Knowledge Health Promotion Policy Research Center, International Health Policy Program (IHPP). Journal of Health Systems Research, 8(2), 111-119.