การพัฒนาการท่องเที่ยววิถีพุทธกสิกรรมอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี ของชุมชนบ้านหนองแต้ จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

กวิสรา จันทร์แสงศรี
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหาความต้องการจำเป็นและแนวคิด แนวทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีพุทธกสิกรรมอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีพุทธกสิกรรมอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีพุทธกสิกรรมอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี ของชุมชนบ้านหนองแต้ จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นงานวิจัยรูปแบบอริยสัจจ์โมเดลประยุกต์แก้ความแย้งสังคมไทยสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมภายใต้กรอบการดำเนินการวิจัย 9 ขั้นตอน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดจำนวน 25 รูป/คน ได้แก่ นักวิชาการจำนวน 5 รูป/คน ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา กสิกรจำนวน 20 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง และนำมาวิเคราะห์อธิบายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) พื้นที่ชุมชนประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากมานาน ขาดแคลนน้ำในการเกษตร จากความต้องการแก้ปัญหาด้าน โครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม พืชผลการเกษตรในท้องถิ่นไม่สะดวกและไม่ได้มาตรฐาน พืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม แหล่งท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการพัฒนา เกิดความยากจน การนำพื้นที่พุทธกสิกรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นต้นแบบแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ มุ่งเน้นอัตลักษณ์วัฒนธรรมวิถีท้องถิ่น ด้วยการปลูกจิตสำนึก สงวนรักษาไม่ทำลายสถานที่ ช่วยรักษาและอนุรักษ์สถานที่ และเป็นแหล่งให้ศึกษาหาความรู้ ให้ชุมชนมีรายได้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิต ส่งต่อความยั่งยืน 2) การนำหลักกสิภารทวาชสูตร ที่เป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนา มาเป็นหลักพุทธสันติวิธีบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ขับเคลื่อนพัฒนาการท่องเที่ยววิถีพุทธกสิกรรม มีศรัทธา ความเพียร ปัญญา หิริ ใจ สติ สัจจะ โสรัจจะ มาเป็นยุทธศาสตร์ สร้างเศรษฐกิจฐานรากของคนในชุมชน เกิดความมั่นคง สามารถพึงพาตนเองและครอบครัวนำพาชีวิตสู่ความผาสุก ส่งต่อลมหายใจแห่งสันติภาพ 3) การพัฒนาการท่องเที่ยววิถีพุทธกสิกรรม นำไปสู่ กินอิ่ม นอนอุ่น หนี้หมด ทุนมีตามองค์ประกอบ 7 ประการของ NONGTAE MODEL มี ปราศจากความยากจน (N, NO POVERTY), ความเป็นเจ้าของร่วมกัน (O, OWNERSHIP), การสร้างเครือข่าย (N, NETWORK), การให้การบริการที่ดี (G, GOOD SERVICE), อนุรักษ์วิถีชีวิตท้องถิ่น (T, TRADITION), มุ่งมั่นสร้างสรรค์ (A, ASPIRATION), เสริมสร้างองค์ความรู้ (E, EDUCATION) เสริมสร้างความผูกพันธ์ระหว่างสังคมชุมชน มีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ด้วยจิตอาสา สร้างเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cheykeewong, U., & Sakunapat, P. (2011). Ecotourism. (2nd ed.) Bangkok: Saengdao Publishing Co., Ltd.

Kaewnuch, K. (2021). Tourism Management and Community Development in Dynamic World. (1st ed.). Samut Sakhon: Free Mind, EPPO.

Kanokphongchai, S. (2022). Cultural Heritage for Sustainable Tourism After the COVID-19 Crisis. (1st ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Lincharearn, A. (2015). Data Analysis and Presentation in Qualitative Research. Retrieved April 27, 2019, from http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/DataAnalysis.pdf

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Office of Permanent Secretary Ministry of Tourism and Sports (2017). The Second Thailand National Tourism Development Plan 2017-2021. Retrieved February 2020, from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/article/view/24733.

Office of the National Economics and Social Development Council. (2019). National Economic and Social Development Plan No.12 B.E. 2017 - 2021 and 2022. Retrieved November 29, 2021, from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Phra Phromkunaporn (P.A. Payutto). (2018). Sustainable Development. (21st ed.). Nakhon Pathom: Wat Yan Wesakawan.

PhraBrahmapundit (Prayoon Dhammacitto). (2019). Religion and the Sustainable Development Goals (SDGs). (2nd ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Phrakrupalad Adisak Vajirapanno. (2019). Development on Model of Tourism Management in Sustainable and Peaceful Way: A Case Studyof WatBaan Khayung, Huaytamon Sub-district, Phusing District, Sisaket Province. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Autthaya.

Suphan Buri Provincial Office. (2022). Suphan Buri Province Development Plan, Fiscal Year 2023 -2027. Retrieved November 29, 2023, from https://www.suphanburi.go.th/files/ com_strategic/2023-03698f41fc355f67.pdf