รูปแบบการบริหารจัดการน้ำโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล โดยพุทธสันติวิธี ของชุมชนบ้านหนองแต้ จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

จุฑาทิพ ทองสุก
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดลของชุมชนบ้านหนองแต้ จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการบริหารจัดการน้ำโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดลโดยพุทธสันติวิธี สำหรับชุมชนบ้านหนองแต้ จังหวัดสุพรรณบุรี  3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการน้ำ      โคกหนองนาสันติศึกษาโมเดลโดยพุทธสันติวิธี เป็นงานวิจัยรูปแบบอริยสัจจ์โมเดลสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมภายใต้กรอบการดำเนินการวิจัย 9 ขั้นตอน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักวิชาการจำนวน 11 รูป/คน  ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา กสิกรจำนวน 20 รูป/คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง และนำมาวิเคราะห์อธิบายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) พื้นที่ชุมชนอยู่นอกเขตชลประทาน ไม่สามารถขุดคลองเชื่อมต่อได้ ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซากมานาน ขาดแคลนน้ำใช้ในการเกษตรอาศัยน้ำในฤดูฝนทำนาได้ปีละครั้ง หากฝนทิ้งช่วง  ไม่สามารถปลูกข้าวได้ ต้องซื้อน้ำ ปุ๋ยเคมี จำนวนมาก ผลผลิตไม่คุ้มค่ากับการลงทุนไป ทำให้เกษตรกรเกิดหนี้สินมาก อีกทั้งยังขาดความรู้ในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่การนำรูปแบบการบริหารจัดการน้ำโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดลเป็นทางเลือกสามารถช่วยแก้ปัญหาให้มีน้ำใช้ในพื้นที่ของตนองได้เพียงพอตลอดทั้งปี 2) นำหลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ซึ่งเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาเป็นหลักพุทธสันติวิธีบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาบริหารจัด การน้ำสู่ความสำเร็จช่วยให้หมู่คณะมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและอุปสรรคร่วมกันอันนำไปสู่เป้าหมายสำหรับการร่วมกันทำงานในหมู่คณะ เพื่อความสำเร็จตามความประสงค์ได้อย่างแท้จริง 3) การนำรูปแบบการบริหารจัดการน้ำสู่ น้ำดี น้ำพอ น้ำใจ ตามองค์ประกอบ 11 ประการ ของ SUPHANBARAY MODEL มี ปลูกความต้องการ (S, Survey), เปิดเอกลักษณ์ (U, Unique), ปลุกสันติภาพ (P, Peace), ปรับการจัดการ (H, Handle), ปฏิบัติการขุด (A, Action), ประสานเครือข่าย (N, Network), ประเมินน้ำให้เพียงพอ (B, Baray), ปักความกระตือรือร้น (A, Active), ปลุกใจให้มีพลัง (R, Reflection),   เปิดประตูสู่ความสำเร็จ (A, Accomplishment), ประเทืองปัญญา (Y, Yield) คนในชุมชนร่วมกัน ช่วยเหลือเผื่อแผ่ เกื้อกูล มีความรักความสามัคคี รู้จักการแบ่งปันประโยชน์กันทำให้เกิดสันติภาพในชุมชนอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ทองสุก จ. ., & วชิรปญฺโญ พ. . (2023). รูปแบบการบริหารจัดการน้ำโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล โดยพุทธสันติวิธี ของชุมชนบ้านหนองแต้ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 1109–1125. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/267330
บท
บทความวิจัย

References

Boontamara, T. (2021). Water Resource Management in Patumthani Province. Journal of Management Science Review, 11(4), 69 - 80.

Chokwanakul, K. (2020). Integrated Water Resource Management Approach in Drought Situation of Ban Na Fai Community, Na Fai Subdistrict, Mueang District, Chaiyaphum Province. Journal of Surindra Rajabhat University Social Sciences Review, 22(2), 127- 148.

Juljarern, S. (2020). New Theory Agriculture: King’s Philosophy to Khok Nong Na Model. Retrieved September 28, 2022, from https://district.cdd.go.th/muang-sukhothai/2020/01/09

Lincharearn, A. (2015). Data Analysis and Presentation in Qualitative Research. Retrieved April 27, 2019, from http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/DataAnalysis.pdf

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Office of the National Economics and Social Development Council. (2021). National Economic and Social Development Plan No. 12 B.E. 2017-2021 and 2022. Retrieved November 29, 2021, from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Phanthaphech, M., & Chittaladakorn, S. (2021). Sustainable Groundwater Bank Project Management Model of Yasothon Province. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Review, 6(3), 92-107.

Phra Athikara Pornnarai Kittikuno (Panboot). (2022). Khok Nong Na Model and Buddhist Sustainable Development. Journal of Research and Academics Review, 5(1), 285-292.

Phra Brahmapundit (Prayoon Dhammacitto). (2019). Religion and the Sustainable Development Goals (SDGs). (2nd ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Phrakrupalad Pannavorawat, Phrakhrupalad Adisak Vajirapañño, Sakabucha, S., & Phopachit, N. (2022). Buddhist Agricultural Development Model Khok Nong Na Santi Study Model for Sustainable Development: A Case Study in Sisaket Province. Journal of MCU Peace Studies, 10(1), 48-64.

Pueanongkhae, K., & Phosing, P. (2021). Decoding of Local Innovation Development Model on Groundwater Bank System of Raban Subdistrict Administrative Organization, Lan Sak District, Uthai Thani Province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation Review, 7(2), 56-65.

Rungsanthawee, T., Phosing, P., & Pueynongkae, K. (2021). Groundwater Bank Innovation Solve Water Problems in the Whole System Engaging with the Community Kao Kham Subdistrict Administrative Organization, Namyao District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation Review, 8(3), 70-96.

Suphan Buri Provincial Office. (2022). Suphan Buri Province Development Plan, Fiscal Year 2023 - 2027. Retrieved November 29, 2021, from https://ww1.suphanburi.go.th/files/com_strategic/2019-01_3698f41fc355f67.pdf

Uanlum, P. (2019). A Study from Ground Water Bank to Sustainable Water Management and Self – Sufficiency in Water Resources: A Case Study of Baan Kham Khang Tambon Khao Kham Amphoe Nam Yun Ubonratchathani Province. (Research Report). Ubon Ratchathani: Provincial Community Development Office of Ubon Ratchathani Provincial Community Development Office of Ubon Ratchathani Community Development Department, Ministry of Interior.

Yampaiboon, A., & Thanomchit, T. (2021). Water Resource Management According to Buddhist Principles. Journal of Prajna Ashram Review, 3(1), 26-35.