การพัฒนาประเพณีชุมชนเมืองภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธีของชุมชนวัดสารอด กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชัยฤทธิ์ อนุฤทธิ์
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาประเพณีชุมชนวัดสารอด 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาประเพณีชุมชนวัดสารอด และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอการพัฒนาประเพณีชุมชนเมืองภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธีของชุมชนวัดสารอด กรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิจัยในรูปแบบ อริยสัจจ์โมเดล ภายใต้กรอบการวิจัยตามบันได 9 ขั้น (การวิจัยเชิงปฏิบัติการ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สัมมนา สนทนากลุ่มเฉพาะ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 50 คน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเพณีชุมชนวัดสารอดสามารถหลอมรวมบวรให้เป็นหนึ่งเดียว แต่ปัญหาในอดีตที่ผ่านมาหลายปีทางวัดสารอดไม่มีการจัดงานประเพณีชุมชนซึ่งชาวชุมชนต้องการมีส่วนร่วมจัดงานภายใต้การมีส่วนร่วมของพลังบวรเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเพณีให้สอดรับกับอัตลักษณ์ของชุมชน    วัดสารอด 3) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาประเพณีชุมชนเมือง คือ หลักอริยสัจ 4 เป็นการค้นหา  สภาพปัญหาสาเหตุการพัฒนาประเพณีชุมชน หาแนวทางในการพัฒนาประเพณี เน้นการร่วมประชุม       แสดงความคิดเห็น ปรึกษาหารือกำหนดเป้าหมายร่วมกัน เพื่อให้เกิดการสืบสานประเพณีที่มีคุณค่าให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างยั่งยืน 5) ผลการพัฒนาและนำเสนอการพัฒนาประเพณีชุมชนเมืองภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธีของชุมชนวัดสารอด ทำให้ได้ “KRATONG’S Model” มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่ กระทงที่ 1 K=Knowledge ความรู้ชัด กระทงที่ 2 R=Relationship ตัดสินใจร่วมผูกความสัมพันธ์ กระทง    ที่ 3 A=Action ร่วมลงมือสร้างสรรค์ กระทงที่ 4 T=Team คณะทำงานมุ่งมั่น กระทงที่ 5 O=Ownership พากันรู้สึกเป็นเจ้าของ กระทงที่ 6 N=Network ครองใจเครือข่าย กระทงที่ 7 G=Growth ฉายความรุ่งเรือง และ กระทงที่ 8 S=Sustainability ต่อเนื่องยั่งยืน จากการพัฒนาดังกล่าวทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ 4 ด้าน คือ 1) อัตลักษณ์โดดเด่น 2) ชุมชนอยู่เย็น 3) จิตใจเป็นสุข 4) ปลุกปัญญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaiyakhet, W., Kaewchana, Th., & Viriyo, Y. (2020). The Restoration of Local Traditions and Promoting Culture Tourism for Klong Dan Community. In Sattayaraksa, W. D. The 11th Hatyai National and International Conference (pp. 2145-2157). Songkha: Hatyai University.

Department of Women’s Affairs and Family Development, Ministry of Social Development and Human Security. (2020). Family Action Plan B.E. 2563-2565 (2020-2022). Retrieved May 27, 2022, from https://www.opsmoac.go.th/chachoengsao-action_plan-files-431091791793

Haekham, N., & Rakpa, S. (2021). A Promotion of Love, Warmth, and Care in Family and Community Based on Buddhist Teaching. Journal of MCU Humanities Review, 7(1), 481-498.

National Strategy Secretariat Office. (2017). National Strategy 2018-2037. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.

Phatisena, T., & Phochai, Th. (2019). The Restoration, Inheritance and Value-added Culture of Thai-Yuan Food to Promote Well-being and Creative Community Economics in Sikiew District, Nakhon Ratchasima Province. NRRU Community Research Journal, 13(2), 15-26.

Phrakhrusangharak Songphan Jayadatto et al. (2017). Buddhism Culture for Peaceful Coexistence of Thai-Mon Ethnic Group in Ratchaburi Province. Journal of MCU Peace Studies, 5(1), 66-77.

Phrakhrusiridhammapirat. (2019). Guidelines of Recovery and Development the Suoddan Ritual at Wat Phra Mahathat Woramaha Vihara. Journal of MCU Nakhondhat, 6(2), 620-641.

Phramaha Boonlert Chauythanee. Phramaha Daosayam Vajirapanno, Phra Komsan Jalearnwong, & Yai-in, A. (2018). The Combination of Buddhist Mechanisms for Creation of Peaceful Co-existence Culture in ASEAN Community: A Case Study of Thailand and Indochinese Countries and Myanmar. (Research Report). Bangkok: National Research Council of Thailand (NRCT) and The Thailand Research Fund.

Pratumsuwan, K. (2016). Creative Media City: The Indicators for Youth Development. University of the Thai Chamber of Commerce Journal, 36(2), 55-69.

Phraya Anuman Rajadhon. (1953). Cultural. Bangkok: Ministry of Culture.

Public Relations Group Office of Fine Arts Department, The Fine Arts Departmemt. (2022). Why Preserve Cultural Heritage? Retrieved May 27, 2022, from https://www.finearts.go.th/promotion/view/7333