การวิเคราะห์สัญญะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในงานสถาปัตยกรรมของวิหารเทพวิทยาคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติและเป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย โดยวัดเป็นศาสนสถานที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวความเชื่อและความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ทั้งยังเป็นสถานที่ที่พุทธศาสนิกชนเข้ามาศึกษาทั้งหลักธรรมและหลักปฏิบัติต่างๆ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สัญญะทางวัฒนธรรม ที่ปรากฏในงานสถาปัตยกรรมของวิหารเทพวิทยาคม วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา พบว่าการเปลี่ยนแปลงความเชื่อทางสังคมนั้นเกิดจากพัฒนาการทางศิลปะและสถาปัตยกรรมภายในวัด วิหารเทพวิทยาคมสร้างขึ้นภายใต้บริบทและอิทธิพลทางสังคมวัฒนธรรมสมัยใหม่ มีการพัฒนาองค์ประกอบ วิธีการดําเนินงาน และกิจกรรมในพื้นที่ ทำให้ปรากฏความหมายของวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาและความเชื่อท้องถิ่นในงานสถาปัตยกรรมของวิหารดังกล่าว ได้แก่ องค์ประกอบความเชื่อทางพุทธศาสนาของไทยจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงหลังจากพุทธศาสนาของไทยมีการติดต่อปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากภายนอก ส่งผลให้หลักธรรมคำสอนมีความใกล้ชิดและเข้าถึงพุทธศาสนิกชนและผู้ศรัทธามากยิ่งขึ้น อีกทั้งการเพิ่มและลดสัญญะต่างๆ ที่ปรากฏในงานสถาปัตยกรรมของวัดยังทำให้ท้องถิ่นแสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตน เพื่อให้ผู้คนเข้าใจชีวิตและลักษณะความเชื่อในท้องถิ่นที่ปรากฏผ่านสัญญะทางวัฒนธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Deesawadi, N. (2017). Museums: The Creation of ‘Sacred Space’ in Architecture Relate to the Image of the Buddha in Thailand Could Be Political. PEOPLE: International Journal of Social Sciences, 3(3), 543-562.
Joseph, J. E. (2012). Saussure. London: Oxford University Press.
Kaewsingha, S. (2017). Concept and Design of Murals in Thep Wittayakhom Vihara, Wat Baan Rai, Nakhon Ratchasima. (Master's Thesis). Silpakorn University. Nakhon Pathom.
Maitrarat, P., & Weerataweemat, S. (2020). Meaning of Thai Contemporary Stupa by King Rama IX. KKU International Journal of Humanities and Social Sciences, 10(2), 1-28.
Nimlek, S. (2006). Sim: Isan Architecture. NAJUA History of Architecture Thai Architecture, 4, 17-33.
Prakitnonthakan, C. (2020). Ultra-Thai Architecture after the 2006 Coup D'état. South East Asia Research, 28(3), 1-20.
Puttharak, P. (2018). The Cultural Identity Construction of Temples for Tourism. European Journal of Social Science, 5(2), 19-26.
Qi, S. Z. (2017). Thai Folklore and Culture. Beijing: Peking University Press.
Sanook. (2020). Wihan Thep Witthayakom Moradok Watthanatham Na Watbanrai. [Wiharn Thep Wittayakhom Cultural Heritage at Wat Ban Rai]. Retrieved August 4, 2020, from https://www.sanook.com/travel/1425765
Seweryn, M. (2015). Modern Mythology in the Life Project of Ajahn Chalermchai Kositpipat – Wat Rong Khun and the New Visual Language of Buddhist Teachings in the Thai Temple. The Polish Journal of the Arts and Culture, 15, 107-116.
Siniscalco, L. (2020). Antaios: A Mythical and Symbolic Hermeneutics. Forum Philosophicum: International Journal for Philosophy, 25(1), 123-139.
Wu, X, L. (2010). Southeast Asian Art. Beijing: Renmin University of China Press.
Yuan, J. (2016). Mapping Siam: A History of a National Geographical Organism. Nanjing: Yilin Publishing House.
Zhang, Y, L. (2017), Investigation of Naga Art in Buddhist Temples in Northeast Thailand, Journal of Southern Arts, 15, 51-87.