การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนระบบสื่อสารสร้างสรรค์ชุมชนในตำบลภูเขาทอง อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ปนัดดา รักษาแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบสื่อสารสร้างสรรค์ชุมชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบสื่อสารสร้างสรรค์ชุมชน และ 3) เพื่อศึกษาผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนระบบสื่อสารสร้างสรรค์ชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 352 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูป/คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอเขียนเป็นความเรียง


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี สถานภาพ สมรส ระดับการศึกษา ปริญญาตรี รับจ้าง ตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมในชุมชน คือ ประชาชนทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000 - 20,000 บาท 1) การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนของประชาชนในชุมชน มีการนำระบบสื่อสารสร้างสรรค์ มาใช้ในการติดต่อ สื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล แจ้งข่าว และประชาสัมพันธ์ด้วยการใช้สื่อออนไลน์ ตามยุค Thailand 4.0 อยู่ตลอดเวลา นอกเหนือจากวิธีการแบบเดิม เพื่อช่วยเผยแพร่กิจกรรมภายในชุมชน สร้างสรรค์ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในชุมชนได้มากขึ้น 2) ปัจจัยของเทคโนโลยีการสื่อสารที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบสื่อสารสร้างสรรค์ชุมชน ได้แก่ การเลือกใช้สื่อ และช่องทางที่เหมาะสมตรงตามกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ผู้นำชุมชนสามารถสื่อสารไปยังผู้อาศัยในชุมชน ได้อย่างทั่วถึงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนระบบสื่อสารสร้างสรรค์ชุมชน ทั้งในฐานะผู้รับสาร/ผู้ใช้สาร นอกจากการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีแล้ว สิ่งสำคัญในการสื่อสารของชุมชน คือ สื่อบุคคลทั่วไป และสื่อเยาวชนในชุมชน นับเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่สามารถเชื่อมโยงคนในครอบครัวของเยาวชน ให้มาร่วมพัฒนา และทำกิจกรรมในชุมชนได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันในยุคโลกดิจิทัลมีการใช้เทคโนโลยี และสื่อออนไลน์เข้ามา มีบทบาทในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนในชุมชนรับรู้ข่าวสารได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมากขึ้น รับรู้ความต้องการของคนในชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chamaiporn, K. (2021). The General Public Participation in Democracy under the Principles of Good Governance. Journal of Institute of Trainer Monk Development, 4(1), 47-58.

Herzberg, F. (1959). The Motivation of Work. New York: John Wiley & Sons.

Jarernnate, S. (2020). Output of Smart Communicators Training Process for The Mangrove Forest Reservation Awareness Raising in Hua Khao, Singhanakorn District, Songkhla Province. Journalism, 13(3), 40-83.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok: MCU Press.

Phramaha Mongkholkan Thitadhammo, & Khongsarit, P. (2019). Living together of Peoples in Multicultural Societies of Thailand: A Case Study of Multicultural Society of Muang District, Chiang Mai Province. Mahachula Academic Journal, 6(2), 46 – 59.

Phukhao Thong Subdistrict Administrative Organization. (2017). Summary Document of Phukhao Thong Subdistrict Administrative Organization. Mimeograph: n.p.

Thanat, S., & Patthanan, B. (2019). Digital Media Communication of Community Enterprise. Journal of Educational Technology and Communication ECT Journal, 14(16), 11-22.

Thawilwadee, B. (2018). Principles of Good Governance from Concept to Practice in Thai Society by the Institute. Bangkok: Research and Development Office King Prajadhipok's Institute.

The Secretariat of the Senate. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017). (1st ed.). Bangkok: The Secretariat of the Senate Press.

Thipsuda, P., & Pornphan, P. (2016). Participatory Communications for the Promotion of Creative Tourism in Nan Province. Faculty of Communication Arts and Management Innovation. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Throsby, D. (2010). The Economics of Cultural Policy. Cambridge: Cambridge University Press.