รูปแบบการบริหารจัดการด้านบัญชีการเงินโดยพุทธสันติวิธี ของวัดไทยในสหรัฐอเมริกา

Main Article Content

สุรหงษ์ หวังแสงอรุณ
พระธรรมวัชรบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการ  ต่อรูปแบบการบริหารจัดการด้านบัญชีการเงินของวัดไทยในสหรัฐอเมริกา วัดชัยมงคลวราราม เมืองอ๊อคเด้น รัฐยูท่าห์ สหรัฐอเมริกา 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธี ที่เอื้อต่อรูปแบบการบริหารจัดการด้านบัญชีการเงินโดยพุทธสันติวิธี และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการด้านการบัญชีการเงินโดยพุทธสันติวิธี การศึกษาวิจัยครั้งนี้ถือเป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบอริยสัจจ์โมเดล ภายใต้กรอบการดำเนินการวิจัย 9 ขั้นตอน โดยการศึกษาข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหา มีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์ เชิงลึกมีพระสงฆ์ 11 รูปและผู้ตรวจสอบบัญชี 5 คน และการจัดกระบวนการวิพากษ์มีพระสงฆ์ 3 รูป นักวิชาการสำนักงานพระพุทธศาสนา คณาจารย์ นักบัญชีการเงิน 5 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) วัดไม่มีระบบบัญชีและไม่มีการทำบัญชี ขาดผู้ชำนาญทางบัญชี พระสงฆ์/บุคลากรไม่มีความชำนาญทางบัญชี ไม่สามารถจ้างนักบัญชีเนื่องจ่ายค่าใช้จ่ายสูง 2) การนำหลักธรรมาภิบาล STRONG Model หลักบริหาร POSDCoRB หลักการบัญชี และกฎหมายสหรัฐอเมริกา และหลักธธรรมทางพุทธศาสนาคือ สุจริต 3 (ทำดี พูดดี คิดดี) และ 3) รูปแบบการบริหารจัดการด้านบัญชีการเงิน คือ PARENT Model ประกอบด้วย 1. P=Participation การมีส่วนร่วม พระสงฆ์และสาธุชนมีส่วนในการรับรู้ข้อมูลทางบัญชีและให้คำเสนอแนะนำได้ 2. A=Accountability ความรับผิดชอบ การมีคณะกรรมการ/ผู้รับผิดชอบดูแลในแต่ละฝ่ายของกระบวนการและการจัดทำงบการเงินอย่างเหมาะสมชัดเจน 3. R=Regulations and Laws การ การจัดทำงบการเงินภายใต้กฎระเบียบของสหรัฐอเมริกา 4. E=Efficiency ประสิทธิภาพ การกำหนดกรอบระยะเวลาและการสร้างแบบแนวทางการทำบัญชีที่ดีเหมาะสม 5. N=Knowledge พระสงฆ์และสาธุชนได้รับการเรียนรู้ทางด้านบัญชี และ 6. T=Transparency ได้มีการทำบัญชีอย่างโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลตามจริง และตรวจสอบได้ จาก Model นี้ ประโยชน์ที่ได้รับคือพระสงฆ์และสาธุชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมและมีการเรียนรู้ทางด้านบัญชี และการจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้อง เปิดเผยข้อมูลได้ เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย และรูปแบบสามารถนำมาเป็นต้นแบบ ใช้ได้อย่างถาวร และเกิดความสันติสุขในชุมชนนั้นๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chunsom, N. (2014). Buddhist Thai Temple’s Financial Management: Congruence of Good Governance Principle. Nida Development Journal, 54(1), 116-119.

CTU (2023). The Council of Thai Bhikkhus in the U.S.A. Temple’s Members. Retrieved January 2, 2023, from http://thectu.org

Gulick, L., & Urwick, J. (1973), Papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.

IRS Tax Exempt and Government Entities (Rev” 8-2015), Tax Guide for Churches & Religious Organizations 501(C)(3), Catalog Number 21096G, Department of the Treasury, (Internal Revenue Service: Publication 1828 (Rev”8-2015), p. 49.

National Institute (2022). Buddhism in the United States, Growth of Buddhist Groups. Retrieved March 17, 2022, from https://www.familysearch.org/en/wiki/Buddhism_in_the_ United_States_(National_Institute)

National Office of Buddhism. (2022). Anti-Corruption Education. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Ngamtippan, C. (2020). The Guidelines for Financial Management Based on the Buddhist Integration of Women's Group, Sawai Sub-district, Prang Ku District Sisaket Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Panajit, B. et al. (2002). Successful Completion of the Mission of the Temple: A Case Study of Wat SuanKaew BanYai District, Nonthaburi Province. Bangkok: Office of the National Education Commission.

Phraatikarn Phatthachaphong (Siribhaddo). (2017). A Vocation of Finance and Accountancy in Buddhism. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 4(1), 84–93.

Phrakittiyanavides (Pradit YanaKitti). (2022). Abbot of Vajiradhammapadip Temple, Interview. September 22.

Phrakru Srivitheschaimongkol (Suphat Methisuphato). (2022). Abbot of Wat Chaimongkol- vararam. Interview. March 20.

Phraprombandit (Prayoon Dhammajitto). (2022). Abbot of Wat Prayurawongsawat Worawihan, Interview. November 28.

Phraraddhammavides (Prasert Pandhura). (2022). Abbot of Wat Buddhanusorn, Interview. September 22.

Singhagul, S. (2019). Development of Financial Management of Thai Temple According to Peaceful Good Governance: A Case Study of Thakoynang Temple Prang Ku District Srisaket Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Sutthiprapa, W. (2022). Accounting Principle and Procedure. Retrieved July 1, 2022, from bunchee.bus.ubu.ac.th/Doc/ch01.doc

UNESCAP. (2013). What Is a Good Governance? Retrieved April 9, 2022, from http://www.unescap.org/pdd/prs/ProjectActivities/Ongoing/gg/governance.asp