รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพแบบไตรภาคี

Main Article Content

จีรพัส บทมาตย์
พิสิฐ เมธาภัทร
ไพโรจน์ สถิรยากร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการพัฒนา หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพแบบไตรภาคี 2) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพแบบไตรภาคี เป็นการวิจัยและพัฒนา ด้วยวิธีการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็น 1) สถานศึกษาสังกัดรัฐ สำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา ศึกษาจากผู้บริหารและครูผู้สอน 2) ผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 3) วิทยากรหน่วยงานรับรองมาตรฐานอาชีพ 4) กลุ่มอาชีพ ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ 5) ครูฝึก ที่เป็นวิทยากรจากสถานประกอบการ
6) ผู้ที่เคยเข้ารับการฝึกอบรม จากสถานศึกษาอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNIModified


ผลการวิจัยพบว่า


1) สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะ
ตามมาตรฐานอาชีพแบบไตรภาคี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จัดลำดับความสำคัญของสภาพปัญหา จาก 6 กลุ่ม จากมากไปหาน้อย คือ ด้านความต้องการพัฒนา ด้านหัวข้อที่ต้องการฝึกอบรมในการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพแบบไตรภาคี และด้านสภาพปัญหาในการฝึกอบรมของหน่วยงาน ส่วนความต้องการจำเป็นจาก 3 กลุ่มที่เกี่ยวข้อง พบว่า ด้านการวิเคราะห์และด้านการประเมินผล มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด PNIModified เท่ากับ 0.41 อีกทั้งยังพบว่า ผลการจัดอันดับความต้องการจำเป็นทุกหัวข้อ มีความสำคัญ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฯ ได้ต่อไป


2) การพัฒนาและประเมินความเหมาะสมรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพแบบไตรภาคี พบว่า รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลักและขั้นตอนย่อย ดังนี้ 1) ขั้นการวิเคราะห์ มี 4 ขั้นตอนย่อย 2) ขั้นออกแบบหลักสูตร มี 4 ขั้นตอนย่อย 3) ขั้นการพัฒนา มี 9 ขั้นตอนย่อย 4) ขั้นนำหลักสูตรไปใช้จริง 9 ขั้นตอนย่อย และ 5) ขั้นการประเมินผล มี 2 ขั้นตอนย่อย
โดยผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ดังนั้น
รูปแบบจึงมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นต้นแบบแก่หน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและ
ใช้จัดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีสมรรถนะสอดคล้องตามความต้องการกำลังคนของประเทศต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonsong, K., & Kulwachirawan, H. (2018). A Development of the Training Curriculum that Affects to the Performance of the 4th Level Operation Staff in the Main Professional Group and the Supporting Professional Group in Driven Enterprise Organization into High Performance Organization (HPO). Panyapiwat Journal, 10(3), 125 – 137.

Chompukoth, C. (2021). The Development of an E-Learning on Computer Systems for Students with Physical Disabilities under the Private Colleges. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.

Kesornpikul, C. (2012). The Development of Training Curriculum for Thai Language Teachers in Analytical Thinking Competencies. EAU Heritage Journal, 2(2), 200 – 208.

Khaokaew, P. (2012). Development of Administrative Model for Short Course Training Integrated with Occupation by Using Total Quality Management. Journal of MCU Peace Studies, 10(5), 2130-2142.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Kruse, K. (2012). Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model. Retrieved May 6, 2015, from http://www.e-learningguru.com/articles/art2_1.html

Ministry of Education. (2020). Annual Report 2020. Bangkok: Ministry of Education.

Office of the Vocational Education Commission. (2022). Policy, Goals, Strategy, Production and Development of Vocational Manpower towards the World 2022. Bangkok: Office of the Vocational Education Commission.

Phuangphae, P., & Sirisamphan, O. (2015). The Development of an Instructional Model to Enhance Social Studies Learning Activities Design Competency for Pre-Service Teachers. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1), 430 – 447.

Vocational Education Act. (2008). National Education Act (March 5). Volume 125, Section 43 A. Pages 4.