รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูโรงเรียนประถมศึกษา

Main Article Content

เวียงชัย แสงทอง
นเรศ ขันธะรี
ชวนคิด มะเสนะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการนิเทศแบบผสมผสาน      เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษา 2.สร้างรูปแบบการนิเทศแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษา รูปแบบวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ดำเนินการโดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 388 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถาม และศึกษาวิธีปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ของผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูโรงเรียนประถมศึกษามีสภาพปัจจุบันและความต้องการการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษา มีชื่อเรียกว่า “PIDA Model” ประกอบด้วย 1. หลักการของรูปแบบ ได้แก่ หลักการมีกัลยาณมิตร หลักการมีส่วนร่วม หลักการประชาธิปไตย หลักการก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และหลักการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เพื่อส่งเสริมครูให้พัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้นิเทศสามารถนำรูปแบบไปปรับใช้ในการดำเนินการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษา 3. วิธีดำเนินการของรูปแบบ โดยเป็นการนิเทศที่ผสมผสานด้วยวิธีการนิเทศแบบพบหน้า (Face to Face) และแบบออนไลน์ (Online Supervision) มีขั้นตอนคือ การวางแผนการนิเทศ (Planning) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing) การดำเนินการนิเทศ (Doing) และการประเมินผลการนิเทศ (Assessing) 4. การประเมินผลรูปแบบ ได้แก่ การประเมินความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประเมินกระบวนการของรูปแบบ และประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ และ 5. เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย นโยบายของผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนประถมศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด


 

Article Details

How to Cite
แสงทอง เ., ขันธะรี น. . ., & มะเสนะ ช. . (2023). รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 1194–1205. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/266605
บท
บทความวิจัย

References

Boonphak, K. (2020). Article On Learning Instructional in the New Normal Era. Journal of Industrial Education, 19(2), 1-6.

Bureau of Educational Testing. (2022). Basic National Education Test Report, Academic Year 2021. Bangkok: Office of The Basic Education Commission.

Chaikliang, C. (2019). Blended Supervision Model for Enhancement Research of Secondary School Teacher. (Doctoral Dissertation). Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. Nakhon Si Thammarat.

Chaiwong, N. (2017). Development Of a Supervision Model Based on Blended Learning to Enhance Classroom Research Ability Of Teachers under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area. (Doctoral Dissertation). Sakon Nakhon Rajabhat University. Sakon Nakhon.

Choburapun, P., Khamdit, S., & Siridhrungsri, P. (2017). The Instructional Supervision Model to Enhance Thinking Skills in Basic Education. Suthiparithat, 31(100), 246-260.

Intrathip, N., Leetagool, S., & Tengtragul, A. (2022). The Information and Communication Technology Application for Teacher Professional Experience Training Supervision of Faculty of Education, Chiang Rai Rajabhat University. UMT Poly Journal, 17(1), 277-285.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2021). PISA 2018 Assessment Results Reading, Mathematics and Science. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology.

Laowreandee, W. (2017). Teaching Supervision. (5th ed.). Nakhon Pathom: Silpakorn University Printing House.

Malisorn, Y., & Ruangmontri, K. (2020). The Development of Teacher Competency about Active Learning Management in School under Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 2. Journal of MCU Nakhondhat, 7(8), 230-2543.

Ministry of Education. (2003). National Education Act 1999 and its amendments (No. 2) 2002. Bangkok: Ministry of Education.

Office of the Basic Education Commission. (2021). OBEC Policy, Fiscal Year 2023. Retrieved February 2, 2023, form https://www.obec.go.th

Office of The Education Council. (2017). The National Scheme of Education B.E. 2560-2579 (2017-2036). Bangkok: Office of The Education Council.

Phurabpha, S. (2021). Development of an Integrated Supervision Supervisory Model to Promote Competency Proactive Learning Management of the Teachers at Baan Puttaraksa School Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3. Journal of MCU Nakhondhat, 8(6), 222-237.

Pusitrattanavalee, S. (2017). Development of Active Learning Instructional Model for Teachers in the Southern College of Technology. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Srinon, R., Srinon, U., Yomdit, V., & Kitnopkiat, K. (2018). Active Learning Management in the Era of Thailand 4.0. Educational Administration Journal. Silpakorn University, 9(2), 331-343.