โมเดลสมการโครงสร้างการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติงานวิชาชีพตามหลักพุทธธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระมหาประยูร ธีรวโร (ตระการ)
สมศักดิ์ บุญปู่
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติงานวิชาชีพ 2. เพื่อพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติงานวิชาชีพ 3. เพื่อนำเสนอโมเดลสมการโครงสร้างการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติงานวิชาชีพตามหลักพุทธธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 10 คน ระยะที่ 2 ใช้การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และระยะที่ 3 ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 440 คน ได้จากการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโดยใช้โปรแกรมลิสเรล


ผลการวิจัย พบว่า 1. การปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติงานวิชาชีพตามหลักพุทธธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า 1) องค์ประกอบประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 3 ด้าน 2) ด้านบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป 3 ด้าน 3) ฆราวาสธรรม 4 4) การปฏิบัติงานของบุคลากร  สายปฏิบัติงานวิชาชีพตามหลักพุทธธรรม 5 ด้าน 2. การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติงานวิชาชีพตามหลักพุทธธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีตัวแปรส่งผ่าน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ ค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 92.08 องศาอิสระเท่ากับ 74 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .075 แสดงว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. โมเดลสมการโครงสร้างการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติงานวิชาชีพตามหลักพุทธธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่นำเสนอเป็นโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 92.08, df = 74, p = .75, GFI = .979, AGFI = .947, RMR = .115)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hair, J. F., Jr. et al. (1998). Multivariate Data Analysis. (5th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Kamplae, Ph., Pumipuntu, Ch., & Srisombut, K. (2017). A Structural Equation Model of Factors Affecting Organizational Loyalty of Lecturer’s in Rajabhat Universities. Journal Roi Et Rajabhat University, 11(1), 232–243.

Kulratrak, L. (2004). A Study of the University Experience of Chulalongkorn University Students According to the Framework of Student Perception. (Master’s Thesis). Graduate School, Srinakharinwirot University. Bangkok.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2017). Development Plan of Mahachulalongkorn-rajavidyalaya University During the Higher Education Development Plan Phase 12 (2017 - 2021). Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Tatan, W. (2006). Motivation Factors Affecting Work of Employees in Office of Japanese Company in Northern Industrial Estate. (Master’s Thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Trisuthiwongsa, R. (2009). Relationship between Satisfaction at Work and Loyalty to the Organization and Work Efficiency of Mahasarakham University Staff. (Master’s Thesis). Graduate School, Mahasarakham University. Mahasarakham.

Viriyavejkul, A. (2009). Lifelong Learning. Bangkok: Print Pro.

Yuwanasiri, Ch. et al. (2009). Factors Affecting Organizational Engagement of Mahachulalongkornrajavidyalaya University Personnel. (Research Report). Chiang Mai Campus, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Chiang Mai.