หลักนิติศาสตร์กับรากฐานในทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูวีรศาสน์ประดิษฐ์
พระมหาจักรพันธ์ จกฺกวโร
วีระ จุฑาคุปต์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการเปรียบเทียบหลักนิติศาสตร์ในปัจจุบันกับการเกิดขึ้นของพระธรรมวินัยในทางพระพุทธศาสนา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายกับพระวินัย เพื่อเสริมทักษะความรู้ในด้านกฎหมายและพระวินัย เพื่อชี้ให้เห็นว่ากฎหมายที่บัญญัติในปัจจุบันมีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา อันจะนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาในการบริหารจัดการทางพระพุทธศาสนา ในบทความนี้ประกอบไปด้วยหัวข้อที่น่าสนใจคือความหมายของหลักนิติศาสตร์ หลักนิติศาสตร์ต้องมาจากธรรมต้องชอบธรรม อันจะได้ระบบแบบแผนที่ชัดเจนในการวางหลักของกฎหมายและวินัย กระบวนการวิธีในการบัญญัติข้อกฎหมาย กฎหมายที่แท้ประสานประโยชน์ของบุคคลกับสังคม กฎหมายไม่ใช่เพื่อหลักการ ก็ไม่ควรให้เป็นกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นวินัย หรือนิติศาสตร์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นว่ามีความสอดคล้องกัน


การเกิดขึ้นของนิติศาสตร์มีหลักมาจากพระพุทธศาสนากล่าวคือ ศีล 5 หรือหลักธรรมต่างๆที่ปรากฏในบทความนี้ย่อมให้เกิดกฎกติกาอันเป็นแบบแผนข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข คนที่ตั้งมั่นอยู่ในกฎกติกาย่อมไม่เดือดร้อน ย่อมไม่กลัวถูกลงโทษแต่ในทางกลับกันหากบุคคลที่ไม่ตั้งมั่นในกฎกติกาย่อมหวาดกลัวที่จะถูกลงโทษ กฎหมายมีสองแบบ ถ้าเน้นอำนาจก็จะเป็นกฎหมายที่เด่นในด้านการกำจัดคนชั่วมีการห้ามและบังคับมาก แต่ถ้าเป็นกฎหมายที่เน้นการศึกษา ซึ่งมุ่งสร้างคนดีก็จะมีลักษณะในทางจัดสรรโอกาสและมีการส่งเสริมมาก แต่ในความเป็นจริง สังคมหนึ่งมีคนอยู่ในระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย กฎหมายต้องทำหน้าที่ ๒ ด้าน คือ ส่งเสริมคนดี กำราบคนร้าย ถ้าใช้ระบบอำนาจก็จะเอียงไปในทางจำกัด แต่ถ้าใช้ระบบที่มองสังคมมนุษย์เป็นสังคมที่คืบหน้าไปสู่ความดี เราก็ออกกฎหมายมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

Article Details

How to Cite
พระครูวีรศาสน์ประดิษฐ์, จกฺกวโร พ. ., & จุฑาคุปต์ ว. . (2023). หลักนิติศาสตร์กับรากฐานในทางพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 783–788. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/265936
บท
บทความวิชาการ

References

Henri, F. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.

Ingram, D. (2007). Law: Key Concepts in Philosophy. California: Continuum.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Phra Brahmakunakorn (P.A. Payutto). (2004). Thammanoon Life. Bangkok: Religion Printing House.

Phra Debvedhi (P.A. Payutto). (1992). Buddhist Dictionary Dharma. (7th ed.). Bangkok: MCU Press.

Somdet Phra Buddhakosajarn, (P.A. Payutto). (2017). Laws of Nature and Their Benefits to Life. Bangkok: MCU Press.