รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

วิภาดา สายสรรพมงคล
ชวนคิด มะเสนะ
พงษ์ธร สิงห์พันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ซึ่งดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 278 คน และโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีจำนวน 3 แห่ง ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและความต้องการเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็น ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการของรูปแบบ ได้แก่ หลักการเป็นผู้นำและมีภาวะผู้นำ หลักการมีส่วนร่วม และหลักการทำงานเป็นทีม 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เพื่อให้ได้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการที่เหมาะสมกับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษานำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา 3) วิธีดำเนินการของรูปแบบ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา และการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ 4) การประเมินผลรูปแบบ ได้แก่ ประเมินกระบวนการของเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการ และประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้นำเครือข่าย มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรมีความมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง และเครือข่ายมีกระบวนการทำงานเป็นทีมโดยมีการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chomchuen, P. (2013). Effective Community Participatory Academic Administration Model in Educational Institutions under the Office of Primary Educational Service Area. (Doctoral Dissertation). Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani.

Chuangboonsri, T. (2015). The Development of a Model for the Management of Educational Collaboration Networks of Regional Science Schools. (Doctoral Dissertation). Education Administration Naresuan University. Phitsanulok.

Kantaphum, U. (2015). The Development of a Collaborative Network Model for Learner Quality Development for Primary Schools under the Office of Primary Educational Service Area. (Doctoral Dissertation). Development Mahasarakham University. Mahasarakham.

Khaoiam, N. (2018). A Buddhist-based Academic Administration Model for Small Schools under the Office of Primary Educational Service Area. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Phra Nakhon Si Ayutthaya.

Khotbunthua, S. (2015). Curriculum Development and Application. Bangkok: S. Asia Press (1989) Co., Ltd.

Kuakul, Y. (2017). The Development of Academic Administration Models of Islamic Private Schools in Chai Khaen Province, Southern Thailand to Build Learners to Become Complete Humanities. (Doctoral Dissertation). Prince of Songkla University. Songkla.

Nilkaewbowonwich, P. (2016). A Model for the Development of Academic Cooperation Networks of Primary Education Service Area Offices under the Office of the Basic Education Commission. (Doctoral Dissertation). Burapha University. Chonburi.

Panyawaranan, C. (2016). The Development of Academic Administration Policies Positively Affecting Student Achievement in Educational Institutions under Bangkok Metropolitan Administration. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Phoonphanchoo, K. (2018). Academic Administration Model Educational Institutions Developed to the ASEAN Community of Basic Education Institutions. (Doctoral Dissertation). Nakhon Sawan Rajabhat University. Nakhon Sawan.

Prahmsiri, R. (2016). Academic Administrative Models of Private Universities towards Excellence: A Case Study of Phitsanulok University. (Doctoral Dissertation). North Bangkok University. Bangkok.

Pranpa, K. (2013). The Development of Academic Administration by Using Knowledge Management Process at Kalasin Pittayasan School under the Jurisdiction of the Secondary Education Service Area Office 24. (Doctoral Dissertation). Rajabhat Maha Sarakham University. Maha Sarakham.