สัมมาชีพ: องค์ความรู้พืชสมุนไพรพื้นถิ่นและการจัดการเชิงเครือข่าย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่ดอยลังกา

Main Article Content

ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิต
ธนียา เจติยานุกรกุล
ส่งเสริม แสงทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสํารวจและรวบรวมข้อมูลพืชสมุนไพรพื้นถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ดอยลังกา 2) เพื่อสำรวจสาธารณูปโภคและพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อส่งเสริมหมู่บ้านพลังงานสีเขียวในพื้นที่ดอยลังกา และ 3) เพื่อพัฒนาสัมมาชีพการแปรรูปพืชสมุนไพรพื้นถิ่นและส่งเสริมการตลาดในพื้นที่ดอยลังกา โดยใช้รูปแบบการวิจัยผสานวิธี พื้นที่ในการวิจัยประกอบด้วย บ้านแม่แจ๋ม, บ้านป่าเหมี้ยง และ  บ้านปางต้นหนุน ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารเนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา และข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม และปฏิบัติการ ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย โดยนำข้อมูลมาเรียบเรียงและจำแนกอย่างเป็นระบบ จากนั้นนำมาตีความหมาย เชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้ โดยทำไปพร้อมๆ กับการเก็บรวบรวมข้อมูล


ผลการศึกษาพบว่า 1. พืชสมุนไพรที่ค้นพบมีด้วยกัน 24 ชนิด และสมุนไพรที่ได้นำไปทำสารสกัดแล้วนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ในเชิงธุรกิจในชุมชนได้ในครั้งนี้มีด้วยกัน ทั้งหมด 3 ชนิด ขมิ้นชัน มะขามป้อม กัญชาแดงลังกา และสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้ทั้งหมด 12 ผลิตภัณฑ์ 2. ในการสำรวจสาธารณูปโภคและพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อส่งเสริมหมู่บ้านพลังงานสีเขียว ในพื้นที่ดอยลังกา พบว่า ความพึงพอใจต่อสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อการส่งเสริมอาชีพราษฎร ด้านถนน ด้านน้ำประปาภูเขา ด้านไฟฟ้าสาธารณะ และด้านช่องระบายน้ำ ตลอดจน ด้านการจัดการขยะ ทั้ง 5 ด้าน เมื่อแปลค่าแล้วความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง และระดับน้อย 3. สำหรับการพัฒนาสัมมาชีพการแปรรูปพืชสมุนไพรพื้นถิ่นและส่งเสริมการตลาดในพื้นที่ดอยลังกา ผู้วิจัยและคนในชมชน ตลอดจนหน่วยงานราชการ และผู้ประกอบการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในชุมชนร่วมกันหาแนวร่วมสร้างศูนย์การเรียนรู้พืชสมุนไพรพื้นถิ่นและส่งเสริมอาชีพราษฎรดอยลังกาซึ่งภายในศูนย์จะประกอบด้วย 1) พื้นที่สาธิตแปลงปลูกสมุนไพรต้นแบบ 2) พื้นที่สาธิตเทคโนโลยีการแปรรูปสมุนไพรต้นแบบ 3) พื้นที่ศูนย์ประสานงานและนิทรรศการพืชสมุนไพรดอยลังกาต้นแบบและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปสมุนไพร และกระจายผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายโดยตรงและช่องทางออนไลน์

Article Details

How to Cite
จิรกิจนิมิต ณ. ., เจติยานุกรกุล ธ. . ., & แสงทอง ส. . (2023). สัมมาชีพ: องค์ความรู้พืชสมุนไพรพื้นถิ่นและการจัดการเชิงเครือข่าย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่ดอยลังกา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(4), 1549–1561. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/265795
บท
บทความวิจัย

References

Chiarajit, C., (2022). Innovation and Guidelines for Sustainable Community Livelihood Network Development. Journal of MCU Social Science Review, 11(2), 1-14.

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. (2021). The Role of Herbs and Traditional Thai Medicines in the Situation of the COVID-19 Epidemic. (1st ed.). Bangkok: S.B.K. Printing Co., Ltd.

Khottham, P. (2013). Graphic Design on Packaging Pornsiri Herbal Soap. Bangkok: Silpakorn University.

Lampang Provincial Administrative Organization Office. (2018). Development Plan of Lampang Provincial Administrative Organization (2018-2022). Retrieved February 15, 2023, from https://www.lp-pao.go.th/Main60/index.php/home/2016-11-07-04-38-46/1553-2561-2 564-2-10-63.html

Nopparat, N. (2008). Community Participation in Sustainable Tourism Development: A Case Study of Wiang Tai Municipality, Pai District, Mae Hong Son Province. Chiang Mai: Graduate School Chiang Mai University.

Office of Community Strengthening Department of Community Development Ministry of the Interior. (2018). Guidelines for Creating Community Livelihoods in 2019. (1st ed.). Bangkok: BTS Press Co., Ltd.

Petchang, R. (2009). Utilization of Biodiversity of Medicinal Plants along the Phu Phaya Por Ecotourism Route, Nan River National Park, Uttaradit Province. Uttaradit: Uttaradit Rajabhat University.

Petrakat, P. (2012). Health System. Bangkok: Foundation for Children with Disabilities.

Phadungchat, S. (2014). Economy According to the Buddhist Way. Buddhachak, 58(6), 37.

Phromchat, R. (2002). Community Participation in Agro-Tourism Development: A Case Study of Ban Pong, Pa Phai Subdistrict, San Sai District, Chiang Mai Province. (Master’s Thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Rattanaudomsawat, K. (2003). Community Participation in the Restoration of the Golden Triangle Tourist Attraction, Chiang Saen District, Chiang Rai Province. Chiang Mai: Graduate School Chiang Mai University.

Thammarak, R. (2018). A Study of Factors Influencing the Development of Transport Infrastructure System: Case Study: Bang Kaew Subdistrict Administrative Organization Area, Bang Phli District, Samut Prakan Province. (Research Report). Department of Engineering Technology Faculty of Engineering Burapha University. Chonburi.