การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่ดอยลังกา

Main Article Content

ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิต
ธนียา เจติยานุกรกุล
ส่งเสริม แสงทอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและศักยภาพหมู่บ้านต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่ดอยลังกา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่ดอยลังกา โดยใช้รูปแบบการวิจัยผสานวิธี (Mixed Methods) พื้นที่การวิจัย คือ บ้านแม่แจ๋ม, บ้านป่าเหมี้ยง และบ้านปางต้นหนุน ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์สถิติพรรณนา ร่วมกับการวิเคราะห์เอกสารเนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย โดยนำข้อมูลมาเรียบเรียงและจำแนกอย่างเป็นระบบจากนั้นนำมาตีความหมาย เชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างข้อสรุปจากข้อมูลโดยทำไปพร้อมๆ กับการเก็บรวบรวมข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาชุมชนดอยลังกาให้เป็นชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านสมุนไพร ผู้วิจัยและคนในชุมชน ตลอดจนหน่วยงานราชการ และผู้ประกอบการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการพัฒนากิจกรรมเพื่อให้เป็นชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ 1) สร้างศูนย์วิจัยเรียนรู้พืชสมุนไพร 2) พัฒนาเส้นทางถนนในชุมชนโดยมีการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านสมุนไพร ให้มีความสะดวกในการสัญจร และสามารถเชื่อมโยงไปยังการท่องเที่ยวได้ เช่น เส้นทางปั่นจักรยาน และเส้นทางถนนกินได้ ทั้งนี้ชุมชนได้ประเมินศักยภาพหมู่บ้านต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่ดอยลังกา โดยประเมินศักยภาพทั้งหมด 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Attractions) 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) 3) ด้านการเข้าถึงสถานที่ (Accessibility) 4) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Activities) และ 5) การบริหารจัดการทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Tourism Management) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. (2021). The Role of Traditional Thai Herbs and Medicines in the Situation of the COVID-19 Epidemic. 1st edition. Bangkok: S.B.K. Printing Company Limited.

Nopparat, N. (2008). Community Participation in Sustainable Tourism Development: A Case Study of Wiang Tai Municipality, Pai District, Mae Hong Son Province. Chiang Mai: Graduate School Chiang Mai University.

Petrakat, P. (2012). Health System. Bangkok: Foundation for Children with Disabilities.

Phromchanya, A. Ratchataphan, K., & Kitphaiboonthawee, P. (2003). Development of Agro-Tourism: A Case Study of Coconut Island Community, Phuket Province. (Research Report). Chanakarin University. Songkhla.

Phromchat, R. (2002). Community Participation in Agro-Tourism Development: A Case Study of Ban Pong, Pa Phai Subdistrict, San Sai District, Chiang Mai Province. (Master’s Thesis). Chiang Mai University.

Rattanaudomsawat, K. (2003). Community Participation in the Restoration of the Golden Triangle Tourist Attraction, Chiang Saen District, Chiang Rai Province. Chiang Mai: Graduate School Chiang Mai University.

Watcharapreeda, P. (2016). Guidelines for the Development of Community-Based Health Tourism Management in Nakhon Phanom Province. The 13th National Academic Conference, Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus, 8-9 December 2015.