รูปแบบการพัฒนาผู้ประนีประนอมในคดีอาญาต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

อภิณะฎา ใสไหม
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท
อดุลย์ ขันทอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สภาพปัญหาของการพัฒนาผู้ประนีประนอมในคดีอาญา แนวคิดทฤษฎี การพัฒนาผู้ประนีประนอมในคดีอาญาต้นแบบตามแนวทางตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้ประนีประนอมในคดีอาญาต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้ประนีประนอมในคดีอาญาต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การเก็บข้อมูลจาการอภิปรายกับกลุ่มผู้ประนีประนอมที่ปฏิบัติงานมาเป็นเวลา 10 วัน ขึ้นไป และการสนทนากลุ่ม การประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ การสังเกตการณ์ รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากเกสาร


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประนีประนอม ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ และข้าราชการเกษียณอายุที่อาสาเข้ามาช่วยงานของศาลยุติธรรมไม่มีเงินเดือน บางท่านยังไม่มีประสบการณ์ ความรู้ด้านกระบวนการไกล่เกลี่ย การนำคดีอาญาเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย และขั้นตอนการไกล่เกลี่ยทางอาญา 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้ประนีประนอมในคดีอาญาต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี ที่เหมาะต่อการพัฒนา คือ หลักไตรสิกขา อันประกอบด้วย อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา หรือศีล สมาธิ ปัญญา โดยหลักพุทธสันติวิธีนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาผู้ประนีประนอมทั้งด้านคุณลักษณะภายในและคุณลักษณะภายนอก 3) รูปแบบการพัฒนาผู้ประนีประนอมในคดีอาญาต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี เป็นการนำองค์ความรู้ทั้ง 5 ด้าน 1) ด้านกฎหมาย กระบวนการ ขั้นตอนทางอาญา 2) ด้านกระบวนการการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา 3) ด้านทักษะ จิตวิทยา การสื่อสาร 4) ด้านเครื่องมือพุทธสันติวิธี 5) ด้านการพัฒนาสติ สันติภายใน โดยใช้กิจกรรมตามหลักของไตรสิกขาในการพัฒนาจะได้คุณลักษณะของผู้ประนีประนอมในคดีอาญาต้นแบบ ที่มีทัศนคติดี, มีความรู้,มีทักษะไหวพริบ, มีสติ มีขันติจากภายในสู่สันติภายนอก เป็นการพัฒนากาย พฤติกรรม จิต ปัญญา

Article Details

How to Cite
ใสไหม อ. ., วาทโกวิโท พ. ., & ขันทอง อ. . (2023). รูปแบบการพัฒนาผู้ประนีประนอมในคดีอาญาต้นแบบโดยพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 1160–1171. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/265732
บท
บทความวิจัย

References

Boonperm, P. (2021). Policy for President of the Supreme Court President of the Supreme Court the 47th Person. Retrieved October 1, 2021, from https://jor1.coj.go.th/th/content/category/detail/id/21/iid/273564

Duangtawong, P. (2010). The Effectiveness of a Creation and Development Process of Mediators and Operation of the Thai Court of Justice. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Ubon Ratchathani University. Ubon Ratchathani.

National Strategy (2018-2037). (2018, 13 October). Government Gazette. Volume 135. Part 82 a. Page 1.

Khun-ngoen, N. (2020). “Rules of the President of the Supreme Court on Mediation (No. 2), B.E. 2560, Volume 134, Part 68 a, 30 June 2017”. in Law and Mediation. (2nd ed.). Bangkok: Office of Judicial Promotion, Office of the Court of Justice.

Limprangsi, S. (2007). “Restorative Mediation: Experience of New Zealand Court”. In Restorative Mediation. (2nd ed.). Bangkok: Thana Press Co., Ltd.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.