รูปแบบการพัฒนาการฝึกอบรมผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรมโดยพุทธสันติวิธี จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

พระอนุรักษ์ อนุรกฺขิโต (รัฐธรรม)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ความจำเป็น และแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาผู้นำเยาวชนต้นแบบตามแนวทางศาสตร์สมัยใหม่ 2) ศึกษาหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรม 3) นำเสนอ รูปแบบการพัฒนาการฝึกอบรมผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรมโดยพุทธสันติวิธี จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการด้วยการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านครอบครัวและผู้ปกครอง ด้านครูและนักฝึกอบรม ด้านผู้นำเยาวชนต้นแบบ ด้านพัฒนาคุณธรรมของเยาวชน ด้านองค์กรเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำเยาวชน ด้านพระพุทธศาสนาและพุทธสันติวิธี โดยการคัดเลือกเยาวชนของจังหวัดนครศรีธรรมราชแบบเฉพาะเจาะจง ใช้พื้นที่ในการวิจัยด้วยปฏิบัติการสอนออนไลน์ในหลักสูตร “ผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรมโดยพุทธสันติวิธี” กับกลุ่มเยาวชนประชากรตัวอย่าง 30 คน ในระยะเวลาทั้งสิ้น 4 วัน (28 ชั่วโมง)


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาของเยาวชนในปัจจุบันขาดคุณธรรมจริยธรรม ขาดภูมิคุ้มกัน ขาดความรู้เท่าทันในการในการใช้สื่อ ขาดความรับผิดชอบ ขาดวินัย ขาดความซื่อสัตย์สุจริต ขาดจิตอาสา และขาดความกตัญญูกตเวที 2. หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้นำเยาวชนต้นแบบ คือ หลักภาวนา 4 เป็นผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนา โดยมีหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) เป็นกระบวนการในการพัฒนา และมีหลักธรรมสนับสนุน คือสังคหวัตถุ 4 และอิทธิบาท 4 และ 3. นำเสนอ รูปแบบการพัฒนาการฝึกอบรมผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรมโดยพุทธสันติวิธี จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้โมเดลในการพัฒนาขึ้น ชื่อว่า “KSMA Model” ประกอบด้วย (1) Knowledge ความรู้ผู้นำเยาวชนต้นแบบ (2) Skills ทักษะผู้นำเยาวชนต้นแบบ (3) Moral คุณธรรมผู้นำเยาวชนต้นแบบ (4) Actions การลงมือทำของผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bandasak, T. et al. (2016). Learning in the 21st Century: Perspectives from Phraputtabat Rajachonani Nursing College Teachers. Journal of MCU Peace Studies, 4(2), 175-189.

Chaibangyang P. (2005). Dharma Explains the Principles in the Tripitaka. Bangkok: Dhammasapa.

Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2021). "Suicide Rate Report (Persons per 100,000 Population) Year 1997-2020. Retrieved June 5, 2021, from https://dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp

Department of Religious Affairs. (2001). Thai Encyclopedia Youth Edition. Bangkok: Grand Palace.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas Bhavana 4. Bangkok: MCU Press.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas Magga 8. Bangkok: MCU Press.

Ministry of Public Health. (2021). Guidelines for Driving Moral Promotion Master Plan Ministry of Public Health Issue 1 (2017-2021). Retrieved March 22, 2022, from https://phdb.moph.go.th/main/upload/web_news_files/ezignzm30bkkwc4kck.pdf

Moral Center (Public Organization). (2018). Thailand Social Report Moral Situation Report. Retrieved June 5, 2021, from http://moralcenter.or.th/images/รวมเล่ม_-_หนังสือสำรวจสถานการณ์คุณจริยธรรมป_2561_40หน้ารวมปก.pdf

Phra Bhramagunabhorn (P.A. Payutto). (2004). The Official Book of Makha Bucha Day. (1st ed.). Bangkok: The Buddhist Organization Council of Thailand.

Phra Bhramagunabhorn (P.A. Payutto). (2007). Buddhist Dictionary Dharma Edition. (15th ed.). Bangkok: Chanpen Publishing Co., Ltd.

Phra Brahma Bundit (Dhammajitto, P.). (2021). Buddhism and Sustainable Development", Working Group Organized an Online Academic Seminar Public Issues and Buddhism for Society. Bangkok: Publishing Law.

Phra Maha Wutthichai Wachirametee. (2008). Kon Samran, Job Successful. (14st ed.). Bangkok: Amarin Publishing House.

Phramaha Theerayuth Cittapañño. (Bansamur), Phra Pramote Vadakovidoand, & Phramaha Hansa Dhammahāso (2020). A Model of Youth Leader Development Volunteerism in Accordance with the Buddhist Peace Method: A Case Study at Mueang Trang District, Trang Province. Journal of MCU Peace Studies, 9(3), 965-975.

Tuan Trong. (2007). Human Dharma. (2nd ed.). Bangkok: Sua Tawan and the Trisikkha Fund.

UNICEF Institute for Population and Social Research the Burnet Institute. (2002). Strengthening Systems and Psychological and Psychosocial Support Services for Children and Adolescents in East Asia and the Pacific. Retrieved March 9, 2022, from https://www.unicef.org/thailand/media/8876/file/MHPSS%20Report%202022.pdf