การแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวตามแนวพุทธสันติวิธี

Main Article Content

อุดมวิชณ์ ทองเจือ
วราณี ทองเจือ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวตามแนวทางพุทธสันติวิธี ในการศึกษานี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร การทบทวนหนังสือและบทความที่เกี่ยวข้อง และได้มีการจัดกลุ่ม แยกประเภท เรียบเรียง สรุปสาระสำคัญ และวิเคราะห์เนื้อหา โดยประเด็นที่น่าสนใจมีการแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ พุทธสันติวิธี ความขัดแย้ง หลักคิดของสันติวิธี และวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวทางพุทธสันติวิธี ภาพรวมในการจัดการความขัดแย้งนั้น ไม่ว่าความขัดแย้งจะเกิดขึ้นในระดับใดก็ตาม วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยไม่ใช้กำลังและความรุนแรงที่ดีที่สุด คือ การใช้หลักธรรมตามแนวทางพุทธสันติวิธี เพื่อหาจุดกึ่งกลางที่ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ เมื่อทำการศึกษาปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในครอบครัว พบว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีอยู่ในหลายลักษณะ และหลากหลายช่วงเวลา อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัวทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งการแก้ปัญหาโดยใช้กำลังหรือใช้อารมในการต่อต้านความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างยืดเยื้อเรื้อรัง ย่อมนำไปสู่ความสูญเสียที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอนาคต ในการจัดการความขัดแย้งตามแนวทางพุทธสันติวิธี สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ โดยบทความนี้ได้มีการนำหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ในพระไตรปิฎก มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งอย่างสันติ ได้แก่ การประยุกต์ใช้ทาน การประยุกต์ใช้ปิยวาจา การประยุกต์ใช้อัตถจริยา และการประยุกต์ใช้สมานัตตา ทั้งนี้ควรมีการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับทั้งเหตุผลและความรู้สึก ซึ่งก็จะสามารถทำให้ความขัดแย้งยุติลงได้อย่างเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายและทำให้ครอบครัวมีความสงบสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Bhavilai, R. (2008). Human on Peace. (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Phrapalad Phattapong Dhammananto (Sonkaew), et al. (2020). The Buddhist Peace for Reconciliation of the Constrution Project Krabi Plant. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(4), 366-380.

Krainatee, M., Dhammasaccakarn, W., & Sungkharat, U. (2020). Family: The Social Key Instituctions and Roles of Holistic Human Development. Parichart Journal, 33(1), 2-16.

Mantanajaru, C. (2017). Buddhist Moral Practice: Methods towards Dispute Resolution. Buddhist Psychology Journal, 2(2), 73-81.

Phra Sophon Sopano, Phrakru Kositwattananukul, & Phrakru Wichitsilajarn. (2020). An Application of Four Bases of Social Solidarity into Strengthening Community of Wat Maithungkha, Rattabhumi District, Songkhla Province. Journal of MCU Nakhondhat, 7(3), 15-25.

Phugkaew, V., & Wattanapradith, K. (2016). Buddhist Peaceful Means for Enhancing Happiness at work among the Registered Nurses at Wihandaeng Hospital in Saraburi Province. Journal of MCU Peace Studies, 4(1), 155-173.

Supap, S. (2003). Sociology (Research Report). Bangkok: Thai Watana Panich.

Yenjaima, R., & Suyaporm, S. (2018). Conflict in Society: Theory and Solution. Journal of MCU Social Science, 7(2), 224-238.