ปัญหาความรับผิดทางอาญาที่มีผลมาจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนและการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร

Main Article Content

ทศพร จินดาวรรณ
สมชาย บุญคงมาก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐในการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรและการออกบัตรประจำตัวประชาชน 2) เพื่อศึกษาดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการเลือกพยานหลักฐานพิสูจน์การได้สัญชาติไทยของผู้ยื่นคำขอเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร 3) เพื่อศึกษาความรับผิดทางอาญาของเจ้าหน้าที่ในการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรและการออกบัตรประจำตัวประชาชนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการเลือกพยานหลักฐานพิสูจน์การได้สัญชาติไทย 4) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาความรับผิดทางอาญาที่มีผลมาจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐในการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรและออกบัตรประจำตัวประชาชน เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมจำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มย่อยแล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) นายทะเบียนมุ่งเน้นที่ผลการตรวจสารพันธุกรรมจึงจะทำการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรให้ 2) กฎหมายให้ดุลพินิจนายทะเบียนในการกำหนดพยานหลักฐานในการพิสูจน์การได้สัญชาติไทยมากจนเกินไปและไม่ได้กำหนดให้นายทะเบียนรับฟังผลการตรวจสารพันธุกรรมเป็นพยานหลักฐานหลัก 3) โทษทางอาญากรณีที่เจ้าหน้าที่เพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรโดยไม่ชอบยังมีอัตราโทษน้อย 4) แนวทางแก้ไขปัญหา หน่วยงานของรัฐต้องมีงบประมาณค่าตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมอย่างเพียงพอ กำหนดให้นำผลการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมเป็นพยานหลักฐานหลัก กำหนดโทษให้สูงขึ้นกรณีเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำความผิด

Article Details

How to Cite
จินดาวรรณ ท. ., & บุญคงมาก ส. (2022). ปัญหาความรับผิดทางอาญาที่มีผลมาจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนและการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 3117–3128. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/265084
บท
บทความวิจัย

References

Bailiff. (2022). Bailiff. Interview. March, 1.

Boonkongmak, S. (2018). Principles of General Criminal Law According to the Criminal Code, Section 59-106. (2nd ed.). Bangkok: October Printing Co., Ltd.

Citizens Who Do Not Have an Identity Card. (2021). Citizens who do not have an identity card. Interview. November, 11.

Jaihan, N. (2012). Principies of Law and Criminal Procedure Volume 1. (11th ed.). Bangkok: Winyuchon.

Kanchanachitrasaisunthorn, P. (2010). Explanation of Thai Nationality Law. (3rd ed.). Bangkok: Winyuchon.

Legal Scholars. (2022). Legal Scholars. Interview. March, 5.

Na Nakorn, K. (2013). General Criminal Law. (5th ed.). Bangkok: Winyuchon.

Prathumrat, S. (n.d.). Human Rights and the Rule of Law for Lawyers. Human Rights Handbook, Forensic Science and Forensic Medicine for Lawyers. (3rd ed.). Bangkok: October Printing Co., Ltd.

Taweerotkulsri, C. (2000). Exercise of Discretion of Legal Officers, (Master’s Thesis). Ramkhamhaeng University. Bangkok.

Tingsaphat, J. (2012).Criminal Law Part1. (11thed.). Nonthaburi: Petchrung Printing Center Co., Ltd.

Woraphat, T. (2010). Imprisonment Law. Bangkok: Winyuchon.