แนวทางการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนชาวไทย ในประเทศออสเตรเลีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของอุบาสกอุบาสิกาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) ศึกษาสภาพความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศออสเตรเลีย 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนชาวไทยในประเทศออสเตรเลีย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์เนื้อหาโดยนำข้อมูลที่รวบรวมมาเรียง แล้วให้ความหมายที่ตีความจากข้อมูล แล้วสร้างข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมให้ได้องค์ความรู้ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมพระพุทธศาสนาของอุบาสกอุบาสิกาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนามีบทบาท 5 ด้านคือ ด้านการศึกษาธรรม ด้านการปฏิบัติธรรม ด้านการเผยแผ่ธรรม ด้านการปกป้องพระพุทธศาสนา และด้านการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา 2) สภาพความเป็นมาของพระพุทธศาสนา ในประเทศออสเตรเลียเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2399 ได้มีการสร้างวัดโดยแรงงานชาวจีน ต่อมาพระพุทธศาสนาแบบมหายานจากญี่ปุ่นจึงได้ตามเข้ามาในปี พ.ศ.2410 ปี พ.ศ.2413 ชาวพุทธจากศรีลังกาได้ร่วมกันปลูกต้นโพธิ์ขึ้น ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ 2 ต้น ปี พ.ศ.2434 ชาวพุทธจากตะวันตกได้เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยตั้งเป็นสมาคม ปี พ.ศ.2453 ได้มีพระภิกษุชาวอังกฤษได้เข้ามาและเป็นจุดเริ่มต้นให้พระภิกษุจากเอเชียตามเข้าไป หลังสงครามโลกครั้งที่สองและสิ้นสงครามเวียดนาม ช่วงปี พ.ศ.2517-2518 มีชาวเอเชียหลั่งไหลกันเข้ามาและพระพุทธศาสนามีการเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก และวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2518 ได้มีการเปิดวัดพุทธรังษี ซึ่งเป็นวัดไทยฝ่ายเถรวาทวัดแรกที่ซิดนีย์ก่อนจะขยายไปยังเมืองใหญ่ๆอีกหลายเมือง จนปัจจุบันมีวัดไทย ฝ่ายเถรวาทในออสเตรเลีย 28 แห่ง มีผู้นับถือศาสนาพุทธ 2.4% ของจำนวนประชากรออสเตรเลีย 3) แนวทางการส่งเสริมพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนชาวไทยในประเทศออสเตรเลียทั้ง 5 ด้านคือ ด้านการศึกษาธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมพระพุทธศาสนาโดยศึกษาจากสื่อออนไลน์ทุกชนิดจากพระสงฆ์ในวัดและการสนทนาธรรม ด้านการปฏิบัติธรรมโดยการให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนาปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี ด้านการเผยแผ่ธรรมโดยเชิญชวนคนเข้าวัดเพื่อศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม ด้านการปกป้องพระพุทธศาสนาโดยตักเตือนซึ่งกันและกันต้องรู้หลักธรรมและรีบชี้แจงเมื่อมีการบิดเบือนคำสอน และด้านการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเพื่อพระพุทธศาสนาจะได้ดูแลเราโดยการบริจาคทานปัจจัย 4 แก่พระสงฆ์ บริจาคแรงกายช่วยงานวัด เพื่อลดความโลภเป็นพื้นฐานให้รักษาศีลและการปฏิบัติธรรมต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Australian Bureau Statistics (ABS). (2021). Religious Affiliation in 2021. Top Religions in Australia by % of Population. Retrieved March 18, 2022, from https://www.abs.gov.au/articles/ religious-affiliation-australia#religious-affiliation-in-2021
Bauman Martin. (1995). Conceptualizing Diaspora - The Preservation of Religious Identity in Foreign Parts, Exemplified by Hindu Communities Outside India. Temenos - Nordic Journal of Comparative Religion, 31.
Dhammathai. (2022). The Propagation of Buddhism to Australia, Retrieved March 6, 2022, from http//www.org/Thailand/missionary/Australia.php
Ministry of Foreign Affairs, Department of Consular Affairs. (2021). The Number of Thai People Abroad in 2021. Retrieved November 2, 2022, from https//consular.mfa.go.th
Phrakru Worayanwites, P. (2017). Strategy of Administration for Buddhist Dissemination in Australia. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajvidyalaya University. Ayutthaya.
Rocha, C. & Barker, M. (2015). Buddhism in Australia: Tradition in Change. London & New York: Routledge.
Saksirisampan, C. (1997). Window on the World: Australia. Bangkok: Window on the World Publishing.
Songrueg, J. (1971). History of Buddhist Disciples. Bangkok: Wittayakal.
Watbuddharangsee. (2021). A History of Wat Buddharangsee Annadale. Retrieved May 22, 2021, from http//www.watbuddharangsee.org