การพัฒนาบทเพลงเพื่อสร้างความสุขตามหลักพุทธสันติ

Main Article Content

ศิริวัฒน์ หวานฉ่ำ
พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺทเวที

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี วิธีการประพันธ์บทเพลง  เพื่อ สร้างความสุข และหลักพุทธสันติที่ส่งเสริมบทเพลงสร้างความสุข 2) เพื่อพัฒนาบทเพลงสร้างความสุขตามหลักพุทธสันติและทดลองใช่บทเพลงสร้างความสุข เป็นการแบบผสมวิธี และศึกษาค้นคว้า หนังสือ บทความ ตำรา พระไตรปิฎก รายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาบทเพลงสร้างความสุข แล้วสร้างโปรแกรมอบรมเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรด้านดนตรี ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จากเอกสาร และการสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักการประพันธ์บทเพลงเพื่อสร้างความสุข มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ   1) เนื้อหาของบทเพลงบ่งบอกถึงความสุข ความสงบ ความมีสันติ และ 2) บุคลากรด้านดนตรี 3 กลุ่มมีความรู้ มีทักษะความชำนาญในการดนตรี คือ ผู้ประพันธ์เพลง นักดนตรี และ นักร้อง และหลักพุทธสันติที่ส่งเสริม   บทเพลงสร้างความสุขประกอบด้วยหลักธรรมที่นำมาใช้เป็นเนื้อหาของเพลงที่มีความหมายสร้างความสุข  ขจัดความกังวลและเสริมสร้างพลังใจ และหลักธรรมที่สร้างเสริมสมรรถนะให้แก่บุคลากรด้านดนตรี 2. รูปแบบการพัฒนาบทเพลงเพื่อสร้างความสุขตามหลักพุทธสันติ ประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาองค์ประกอบของการพัฒนาบทเพลงสร้างความสุข ประกอบด้วย บุคลากรดนตรี 3 กลุ่ม ซึ่งมี   พื้นฐานความรู้และประสบการณ์ทางดนตรีอยู่แล้ว ประกอบด้วย ผู้ประพันธ์เพลง นักดนตรี นักร้อง และบทเพลงที่มีเนื้อหาสร้างความสุข ลดความกังวล 2) การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากร   ด้านดนตรี ซึ่งเป็นการให้ความรู้ด้านสันติวิธี การรักษาศีล 5 ปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 และภาวนา 4 ทำการพัฒนาเพลงสร้างความสุขโดยใช้เนื้อหาจากบทสวดโพชฌงคปริตร และ 3) การทดสอบบทเพลงสร้างความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bodharamik, N. (2018). The Vales of Brahmaviharas in Thai Society. Journal of Arts Management, 2(1), 1-10.

Changchana, W. (2020). Music Therapy: Calmness of Meditation towards Unlimited Imagination. Bansomdej Music Journal, 2(1), 119-134.

Farose Podcast (2023). People You May Know: John Lennon. Retrieved May 16, 2023, from https://www.youtube.com/watch?v=NB-Q-U5sZPk

Phramaha Hansa Dhammahãso. (2013). The Tenfold Virtue or Duty of The King: 10 Indicators for Organizational Leaders. (1st ed.). Bangkok: Srisane Printing Limited Partnership.

Sirirattanapan, B. (2017). Karawek:Kaen Music in Contemporary Music Dimension. Rangsit Music Journal, 12(2), 89-102.

Tib-Ut, J., Boon-Im, D., & Phra Athikarn Suchat Chantasaro. (2019). Self-training According to Buddhadhamma of Inmates, Lampang Central Prison. Nakhon Lampang Buddhist College’s Journal, 8(2), 20-29.

Wannapok, S. (2018). Phutthaphãsit Kap Phutthasãtsanãsuphãsit. Retrieved May 5, 2022, from https://www.matichon.co.th/columnists/news_924420

Wattanasiritham, J. (2007). Archive of Musical 5 King of Siam. Bangkok: Octoberprint.