การพัฒนากระบวนการสร้างความสุขในครอบครัวตามหลักพุทธสันติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบริบท สภาพทั่วไป ของครอบครัวในชุมชนแขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานครและหลักการ แนวคิดทฤษฎี วิธีการร่วมสมัยที่สร้างความสุขในครอบครัว 2. ศึกษาหลักพุทธสันติวิธี ที่เอื้อต่อการพัฒนาการสร้างความสุขในครอบครัว ชุมชนแขวงลำผักชี 3. พัฒนาและทดสอบกระบวนสร้างความสุขในครอบครัวตามหลักพุทธสันติวิธีสำหรับชุมชนแขวงลำผักชี เขตหนองจอก ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมวิธี กลุ่มตัวอย่างเป็นครอบครัวได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด 15 ครอบครัว โดยการวิเคราะห์ระหว่างการวิจัยพัฒนา กับการวิจัยกึ่งทดลอง
ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาครอบครัวของชุมชนแขวงลำผักชี คล้ายคลึงกับชุมชนอื่นๆ ในกรุงเทพมหานคร คือ สภาพครอบครัว ขาดความอบอุ่นเพราะสมาชิกในครอบครัวใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวจนไม่มีเวลาให้แก่กัน เท่าที่ควร ทำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินจากกันและกัน บุตรหลานหันไปคบสมาคมกับเพื่อนนอกบ้านแทน บทบาทหน้าที่ที่มีต่อครอบครัวลดความสำคัญลง จนกลายเป็นการขาดความรับผิดชอบต่อกิจการในบ้านเรือนตนเอง 2. หลักพุทธธรรมที่พัฒนาคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของสมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย การพัฒนาคุณลักษณะเบญจธรรมด้วยการสังวรระวัง ใน ศีล 5 การพัฒนาสติสัมปชัญญะที่มั่นคงด้วยการสวดมนต์ปฏิบัติสมาธิภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน ส่งเสริมให้เกิดความมีเมตตา ความคิดสร้างสรรค์ สังควัตถุ 4 และการพัฒนาความเป็นกัลยาณมิตร 3. กระบวนการสร้างความสุขในครอบครัวตามหลักพุทธสันติวิธี มี 4 ขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การสร้างข้อตกลงร่วมกัน ให้เป็นกฎ ระเบียบปฏิบัติของครอบครัว นำมาบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ให้รับทราบร่วมกัน และใช้ปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบตามบทบาทของสมาชิกแต่ละคนอย่างเคร่งครัด บนพื้นฐานของหลักธรรมตาม ทิศ 6 เป็นเบื้องต้น ขั้นตอนที่ 3 การทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ที่เสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง สานสัมพันธ์ให้เกิดความรักใคร่กลมเกลียวกัน โดยเฉพาะการปฏิบัติกิจกรรมวิถีพุทธร่วมกัน เช่น การสมาทานศีล 5 การสวดมนต์เช้า เย็น การปฏิบัติสมาธิ ขั้นตอนที่ 4 การปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจการในครอบครัว ปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่อาจมีขึ้นในครอบครัว หรือมีเกิดขึ้นกับสมาชิกในครอบครัว ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Anna, Alexandrova. (2005). Subjective Well-Being and Kahneman’s Objective Happiness. Journal of Happiness Studies, 6(2), 301-324.
Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2021). What to Do When Violence Is Not Far Away? And Home Is Not Everyone's Safe Zone. Retrieved April 13, 2022, from https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30715
Ministry of Social Development and Human Security. (2021). Familial Action Plan A.D. 2020-2022. Retrieved April 13, 2022, from https://www.opsmoac.go.th/chachoengsao-action_plan-files-431091791793
Mohprasit, N., (2017). A Study of Composition and Criteria of Buddhist Behavioral of Family in Thai Society. (Research Report). Lampang: Buddhist Research Institute of MCU.
Phra Vorawat Dhammadinno (Meekull). (2018). The Method of Resolving the Problems of the Family Confliction According to the Buddhist Principle. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Polsri, P., Seehabun, K.., & Aneksuk, B. (2016). Approaches of Building Family Strengths in the Slums in Ubon Ratchatani Province. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 4(12), 64-73.
Prasertsuk, N. (2015). Constructive Communication for Family Happiness. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2), 737-747.
Thongthako, K. (2010). Five Precepts. Retrieved October 10, 2022, from http://legacy.orst.go.th/ ?knowledges=ศีล-๕-๓-สิงหาคม-๒๕๕๓
Tumkosit, U. (1993). Persistent Causes and Problem of Rural Family Poverty: A Case of Songkhla Province. (Doctoral Dissertation). National Institute of Development Administration. Bangkok.
Wasi, P. (2020). Art of Creating Sustainable Happiness. Baddhana Journal, 7(2), 11-13.