การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

Main Article Content

ทัชชญา ภัทราอัมฤทธิ์
พิทักษ์ วงษ์ชาลี
กุลวดี สุวรรณไตรย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอกให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล จำนวน 31 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เรื่อง โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.80/81.50 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาบูรณาการร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.73)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Besa, N. (2015). Effects of STEM Education Approach on Biology Achievement, Problem Solving Ability and Instrucional Satisfaction of Grade 11 Students. (Master’s Thesis). Prince of Songkhla University, Pattani Campus. Pattani.

Bungbua, P. (2020). Learning Process as STEM Education to Promote Learning and Innovation Skills for High School Students. Journal of MCU Peace Studies, 8(3), 968-980.

Chaumklang, S., Pilanthananond, N., & Srisa-ard, S. (2019). Development of Appropriate Management Model for STEM Education in Thailand. KKU Research Journal of Humanities and Social Sciences (Graduate Studies), 8(1), 1-12.

Honey, M., Pearson, G., & Schweingruber, H. A. (Eds.). (2014). STEM Integration in K-12 Education: Status, Prospects, and an Agenda for Research (Vol. 500). Washington, D.C.: NAP.

Klomin, K. (2016). Learning Management Based on STEM Education for Student Teachers. Journal of Education Naresuan University, 18(4), 334-348.

Manual for the Operation of the Botanic Gardens School B.E. 2017. (2017). Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Bangkok: Plant Genetic Conservation Project Office under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn.

Pitchayapusit, W., & Lincharoen, A. (2020). Development of Learning Activities on Chemistry Course on Rate of Chemical Reactions Using STEM Education Approach to Learning and Innovation Skills of Students for Grade 11 Students. Social Sciences Research and Academic Journal, 15(3), 89-104.

Satapornsuk, N., & Art-in, S. (2020). The Study of 21st Century Learning and Innovation Skills and Learning Achievement on Information Technology of Grade 8 Students Using STEM Education. Journal of Education (Graduate Studies Research) Khon Kaen University, 14(1), 23-31.

Suwannarong, C., & Art-in, S. (2020). Development of Mathayomsuksa 6 Students’ Learning and Innovation Skills in the Physics Subject on the Topic of Hydrodynamics in STEM Education. Journal of Graduate School, 17(78), 71-80.