ผ้าทอไทลื้อสื่อศรัทธาสู่ศิลปะร่วมสมัย

Main Article Content

ปาริชาต เกษมสุข
ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยผ้าทอไทลื้อสื่อศรัทธาสู่ศิลปะร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ ในส่วนที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และรูปแบบ ตลอดจนความคิดความเชื่อของการใช้ผ้าทอในวิถีชีวิตของชาวไทลื้อในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย 2) เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย สื่อความหมายถึงพลัง   ความศรัทธาในพุทธศาสนา ของผู้หญิงไทลื้อ โดยสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวัฒนธรรมไทลื้อมาเป็นแรงบันดาลใจ มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ โดยการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย และผลงานศิลปะที่เกี่ยวข้อง ในบริบทที่เกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา เทคนิค ลวดลาย และรูปแบบ ตลอดจน          คติ ความเชื่อของการใช้ผ้าทอในวิถีชีวิตของชาวไทลื้อในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย พื้นที่วิจัยคือจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดน่าน และจังหวัดพะเยา เพื่อนำมาวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูล และนำมาสังเคราะห์ กำหนด    เป็นแนวความคิด และเทคนิคในการสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัย นำเสนอในรูปแบบพรรณนาและข้อเสนอผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ


จากผลการศึกษาพบว่า 1) วัฒนธรรมการทอผ้ามีบทบาทสำคัญต่อชาติพันธุ์ไทลื้อมาตั้งแต่ในอดีต     ความเชื่อมโยงระหว่างผืนผ้า ลวดลาย และตัวผู้ทอ นั้นมีความสัมพันธ์กับแบบแผนในการดำเนินชีวิต ประเพณี พิธีกรรม และคติความเชื่อ ความศรัทธาในพุทธศาสนา โดยมีวิธีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ผ่านตัวผ้าทอ      ไม่ว่าจะเป็นลวดลายที่สื่อความหมาย สี องค์ประกอบในเชิงสุนทรียภาพ อันเป็นความงามที่จับต้องได้ และความงามในมิติทางคุณค่า ความเชื่อ และพุทธศาสนา เป็นการสื่อความหมายในมิติความศรัทธาในพุทธศาสนาของผู้หญิงไทลื้อ 2) ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยจากลวดลายหรือสัญลักษณ์ที่อยูบนตุง เพื่อสะท้อนความศรัทธาในพุทธศาสนาของผู้หญิงไทลื้อที่ครั้งหนึ่งในชีวิตจะต้องทอตุงถวายวัดเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา    ด้วยเทคนิคศิลปะจัดวาง ให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนเดินเข้าไปสัมผัสและเรียนรู้ลวดลายที่อยู่ในตุง ในรูปแบบสามมิติ   ที่แฝงไปด้วยเรื่องราววัฒนธรรม จากการสร้างสรรค์งานศิลปะครั้งนี้ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ให้แก่สังคม คนรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจ

Article Details

How to Cite
เกษมสุข ป. ., & ทั่งมั่งมี ท. . (2023). ผ้าทอไทลื้อสื่อศรัทธาสู่ศิลปะร่วมสมัย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(6), 2280–2293. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/264298
บท
บทความวิจัย

References

Jommuang, L., & Vasusophaphon, S. (2003). Tai Lue Textiles: Self-Sufficient Economy. Bangkok: Sangsan Publishing.

Kuphanumat, C. (2017). The Concept of Marks of the Great Man Buddha Image in Tai Lue Art for Contemporary Thai Arts Creation. Silpakorn University Journal, 37(2), 105-130.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Chiang Mai Campus. (2011). Tai Lue Lifestyle in Xishuangbanna. (1st ed.). Bangkok: Maxx Printing.

Office of Contemporary Art and Culture. (2022). Strategic Policy to Promote Contemporary Arts and Culture 2012 - 2021. Retrieved October 31, 2022, from https://cmu.to/p59cu

Phra Adsadakorn Kittibhaddo (Chadtranan). (2011). A Study of Forms and Beliefs of TAI-LUE’s Textiles in Chiangkham as Used in Buddhism. (Master’s Thesis). Mahachulalongkorn- rajavidyalaya University. Bangkok.

Prangwatanakun, S. (2008). Cultural Heritage of TAI LUE Textiles. (1st ed.). Chiang Mai: Chiang Mai University.

Prasertsri, S. (2019). Prasert Yodkaew’s Installation Art. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.

Sairawkham, B. (2016). The Study of Natural Dyeing Wisdom of Tai Lue Women: Ban Don Moon, Sriphum Sub-district, Thawangpha District, Nan Province. Chiang Mai: Lan Na Tai Ethnics Leaning Center, Social Research Institute, Chiang Mai University.

Social Research Institute. (2017). Tai Lue Settlement in Lanna. Chiang Mai: Museum of Culture and Lanna Ethnic Groups Project.

Topanurakkun, U. (2015). A Participatory Action Research in Conserving and Passing on Thai Song Dum’s Cloth Weaving Wisdom. (Doctoral Dissertation). Graduate School, Silpakorn University. Bangkok.

Vivattanaseth, P. (2021). Cultural Identity of Ethnic Group in TAI LUE’s Ritual of Life, Phayao Province. Payao University Journal, 37(2), 105-130.