ผัสสะสู่สภาวะจิต: จินตภาพใหม่จากคติความเชื่อตุงล้านนา

Main Article Content

เปศล อัศวปรมิตชัย
ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี

บทคัดย่อ

ผัสสะสู่สภาวะจิต: จินตภาพใหม่จากคติความเชื่อตุงล้านนา เป็นผลงานวิจัยสาขาศิลปะและการออกแบบด้านล้านนาสร้างสรรค์ เป็นสัญลักษณ์ใหม่จากตุง หรือ ธง หลากหลายรูปแบบ รูปทรง ขนาด สี ลวดลาย วัสดุ และสัญลักษณ์ของสัตว์ ที่เป็นตัวแทน ความโลภ โกรธ หลง สติ เช่น จระเข้ ตะขาบ นางมัจฉา เต่า เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา เนื้อหาและรูปแบบของตุงล้านนา ที่เกี่ยวข้องกับตำนานเรื่องเล่าเหนือจริงและคติความเชื่อเรื่องกรรมในพุทธศาสนา เพื่อสร้างสรรค์จินตภาพใหม่จากตำนานเรื่องเล่าของตุงล้านนา และคติความเชื่อเรื่องกรรมในพุทธศาสนาให้สัมผัสได้จริง ในรูปแบบศิลปะจัดวางและศิลปะปฏิสัมพันธ์ ใช้วิธีการศึกษาทบทวนวรรณกรรม และลงพื้นที่เก็บข้อมูลสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างกับผู้รู้ ช่างพื้นบ้านหรือสล่า เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ออกมาเป็นภาพร่างต้นแบบ และนำไปสร้างสรรค์ผลงานจัดแสดงนิทรรศการที่เน้นการใช้วัสดุพื้นบ้านร่วมกับวัสดุสำเร็จรูปสมัยใหม่ ผลการวิจัยพบว่าได้ผลงานศิลปะจัดวาง 2 ส่วน แบ่งเป็นเรื่องราวกุศลกรรม และอกุศลกรรม แทนความหมายเรื่องความกตัญญู ความโลภ ความโกรธ ความหลง สติ กรรมและวิบาก โดยวิเคราะห์และสรุปแยกส่วนเรื่องการตีความเชิงสัญลักษณ์ตามจินตนาการ และความจริงรูปธรรมที่สัมผัสได้จากการรับรู้ รูป รส กลิ่น เสียง ในผลงานศิลปะ ผลการวิจัยพบว่าจากการศึกษาที่มาของตุงล้านนา ทำให้สามารถสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างของตุงล้านนาในบริบทงานศิลปะ และพบว่าเมื่อผู้ชมเกิดการปฏิสัมพันธ์ที่มากกว่าการมองเห็นจะส่งผลให้เกิดการบรรจบกันระหว่างความจริงของวัตถุ และความเชื่อเรื่องตุงล้านนาร่วมกับจินตนาการของผู้ศึกษา นำไปสู่การรับรู้สภาวะจิตที่ สงบ ผ่อนคลาย กดดัน หรือกระตุ้นเร้า ที่ช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับเรื่องราวของตุงล้านนาในอดีตและจินตนาการความเชื่อร่วมสมัยในปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
อัศวปรมิตชัย เ. ., & ทั่งมั่งมี ท. . (2022). ผัสสะสู่สภาวะจิต: จินตภาพใหม่จากคติความเชื่อตุงล้านนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 2976–2989. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/264145
บท
บทความวิจัย

References

Juthaphakdikul, N. (2015). Learning Through Multiple Senses. Encyclopedia of Education Faculty of Education, Srinakharinwirot University, (50), 63-68.

Khemmuk, Y. (2010). Chor and Tung: The Art of Faith Local Wisdom. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University.

Office of Buddhism Promotion and Social Services. (2017). The Dharma Riddle of Tung Kathin. Mahachulalongkornrajavidyalaya University Retrieved October 7, 2019, from https://dcd.mcu.ac.th/?p=1730

Phramaha Krisana Woradhammo, Namketand, S. & Sinthunok, B. (2021). An Analytical Study of the Belief of Merit-De Merit in Buddhism towards the Way of Buddhist Life in Mueangpia Sub-district Municipality Kutchap District, Udonthani Province. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 271-284.

Phrapalad Chatuporn Vajiranano & Boonsriton, P. (2022). Tung Lanna: Buddhist Symbols. Journal of Buddhist Arts, 4(1), 1-16.

Phrapalad Pongsiri Putthiwatso. (2020). The Name of the Zodiac that Appears in Tung Lanna. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 7(1), 78-94.

Phrakhrupariyatthammawong, (2013). Hell and Heaven and the Beliefs of Today's Youth. Dhammathas Academic Journal, 12(2), 91-105.

Sodamak, C. (2020). A Theory of the Classifications of Thailand’s Installation Art by Mark Rosenthal. Journal of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University, 13(1), 142-157.

Srimuang, C. (2016). Making Merit with Tung: A Unique Offering of Lanna. [web blog]. Retrieved October 20, 2018, from https://superstitionsite.wordpress.com/?s=ทานตุง

Treichler, D. G. (1967). Are You Missing the Boat in Training Aids?. Film and Audio-Visual Communications, Interlibrary Loan Indiana University. Vol. 1, 14-16, 29-30, 48.

Wasinsoontorn, N. (2015). Semilogy and Signification Concepts. [web blog]. Retrieved October 20, 2018, from http://johnnopadon.blogspot.com/2015/10/semiology-and-signification. html

Wutthaisong, W. (2021). Tung. Arts and Cultural Center Khon Kaen University. Retrieved January 11, 2022, from https://cac.kku.ac.th/cac2021/1-16/