การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วิธีการแบบเปิด

Main Article Content

สุกัญญา จันหุณีย์
กุสุมา ใจสบาย
กิตติศักดิ์ ใจอ่อน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งไม้ไผ่ จำนวน 7 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด แบบบันทึกภาคสนามของผู้วิจัยและการบันทึกวีดิทัศน์ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยใช้ข้อมูลจากโพรโทคอลการแก้ปัญหาของนักเรียน ผลงานนักเรียน ผลการบันทึกภาคสนามใช้ในการวิเคราะห์ความสามารถในการแก้ปัญหาตามกรอบการวิเคราะห์ของโพลยาและการวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า ความก้าวหน้าของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง มุม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นตามลำดับจากร้อยละ 71.43 จนถึงร้อยละ 100 และนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น โดยมีพัฒนาการขั้นตอนการแก้ปัญหาจนครบทั้ง 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการทำความเข้าใจปัญหา นักเรียนมีพฤติกรรมโดยการพูดแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นภาษาความเข้าใจของตนเองและอ่านสถานการณ์เพียงครั้งเดียวหรือหลายๆ ครั้ง ขั้นการวางแผนแก้ปัญหา นักเรียนแสดงออกโดยการพูดและใช้ท่าทางประกอบ ขั้นการดำเนินการตามแผน นักเรียนจะใช้แนวทางในการแก้ปัญหาตามที่วางแผนไว้และขั้นตรวจสอบผล นักเรียนแสดงพฤติกรรมการตรวจคำตอบและวิธีการแก้ปัญหาของตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Becker, J. P., & Shimada, S. (1997). The Open-ended Approach: A New Proposal for Teaching Mathematics. Reston: National Council of Teachers of Mathematics.

Bussaya, P. (2016). The Effects of Learning Activity Using Open Approach to Mathematiceal Problem Solving Ability and Creativity of Mathayomsuksa 5 Students. (Master's Thesis). Burapha University. Chonburi.

Inprasitha, M. (2010). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing Learning Unit. In Cheong, S. C., Sang, G. L., & Young, H. C. (Eds.). Proceeding of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education (pp.193-206).Gyeongju:Dongkook University.

Inprasitha, M. (2014). The Problem Solving in Mathematics at School Level. Khon Kaen: Pen Printing Co., Ltd.

Krulik, S., & Rudnick, J. (1988). Problem Solving. Boston, MA: Allyn & Bacon.

National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2020). Basic National Educational Test Report (O-NET) Grade 6. Retrieved May 3, 2022, from http//www.niets.or.th

Nohda, N. (1986). A Study of “Open-Approach” Method in School Mathematics Teaching Focusing on Mathematical Problem Solving Activities. Journal of Education Study in Mathematics, 5, 21.

Nowyenphon, P. (2011). Unit 9 Mathematical Problem Solving Resource Essence and Mathematical Methods. (Doctoral Dissertation). Sukhothai Thammathirat University. Nonthaburi.

Office of the National Education Commission. (2002). The National Education Act 1999 Amended, Additional (No. 2) B.E. 2002. Bangkok:Office of the National Education Commission.

Polya, G. (1985). How to Solve It. New Jersey: Prince to University Press.

Puta, R. (2018). Effects of Open Approach Instruction with Lesson Study on Mathematical Problem Solving Ability and Creative Thinking of Grade 6 Students. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 12(3), 129-131.