รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ธวัช สอนง่ายดี
จิติมา วรรณศรี
วิทยา จันทร์ศิลา
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2. เพื่อสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 3. เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา โดยการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และครูของสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี ในเรื่องของงานครูที่ปรึกษา และองค์การนักศึกษา จำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ผู้วิจัยใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาครูที่ปรึกษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา โดยการสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา และขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษา โดยการตอบแบบสอบถามจากผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนางานครูที่ปรึกษา จำนวน 205 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษา ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาครูที่ปรึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า ประกอบไปด้วย ด้านนโยบาย ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านโครงสร้างขององค์กร ด้านบทบาทของผู้นำ ด้านงบประมาณ ด้านบทบาทของหน่วยงานภายนอก และด้านบรรยากาศสภาพแวดล้อม องค์ประกอบที่ 2 วิธีการพัฒนาครู ประกอบไปด้วย การพัฒนาตนเอง การพัฒนาโดยสถานศึกษา และการพัฒนาโดยลงมือปฏิบัติงาน องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการพัฒนาครูที่ปรึกษา ประกอบไปด้วย การกำหนดเป้าหมาย การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การสะท้อนผลการพัฒนา และการหาแนวทางปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 คุณลักษณะของครูที่ปรึกษา ประกอบไปด้วย ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรม และด้านความรับผิดชอบต่อผู้เรียน ผลการประเมินพบว่ารูปแบบมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์ก็อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chatchatree, C. (2018). Teachers’ Development for the 21st Century Learning Management of Somapapattana School under the Office of the Private Education Commission. (Master’s Thesis). Krirk University. Bangkok.

Howhan, S. (2015). Opinion of Teachers and Students in Chachoengsao Technical College toward the Duty Role of Advising Teachers. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.

Keawdang, R. (1998). Teacher’s National. Bangkok: Office of the National Education Commission.

Keawkerd, N. (2012). Developing a Student Support System to Reduce the Number of Dropouts Vocational Students with Vocational Certificates under the Office of Vocational Education Commission. (Doctoral Dissertation). North Bangkok University. Bangkok.

Khammanee, T. (2014). Pedagogical Sciences: Knowledge for Effective Organization of Learning Processes. (18th edition). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Khamsom, K. (2007). Summary of the Result of a Brief Survey About the Provision of Counseling Services. (Poll Summary). Udon Thani Rajabhat University. Udon Thani.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Krukgulthorn, Y., Namdej, N., Dejpituksirikul, S., & Onnuam, K. (2018). Development of Counselling Teachers’ Competency Based on Mindfulness and Action Learning Principles. Journal of MCU Peace Studies, 6(4), 1541-1555.

Newamart, Ch. (2016). The Model Development of Student Care System Management of Tak Technical College in the Vocational Education Commission. Retrieved March 12, 2022, from http://www.taktc.ac.th/download/1_THE%20MODEL%20DEVELOPMENT%20OF%20STUDENT%20CARE%20SYSTEM%20MANAGEMENT.pdf

Office of Vocational Education Commission. (2019). Report on the Number of Drop-Out Students of the Office of Vocational Education Commission B.E. 2560-2562. Bangkok: Office of Vocational Education.

Pummala, M., & Jaichalad, N. (2002). A Study of Administrative Skills of School Administrators under Office of the Vocational Education Commission Phetchabun. The Journal of Research and Academics, 5(4), 123-132.

Rattanathaworn, R. (2015). The Policy Implementation Model of Health Promotion in Basic Education Institutions. EAU Heritage Journal Social Science and Humanities, 5(3), 281-293.

Sathtrukram, P. (2016). Teachers’ Attributes Based on Guru’s Characteristics in the Attitudes of Students at Ayutthaya Technical College. (Master’s Thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Pathum Thani.

Siripala, W. (2016). The Rajabhat Model of Teacher’s Professional Development. (Doctoral Dissertation). Siam University. Bangkok.

Sirisan, P. (2009). A Study on Needs for Self-Development of Primary Education Teachers of Pataiudomsuksa School. (Master’s Thesis). Dhurakij Pundit University. Bangkok.

Starut, A. (2013). The Environment at Management in the Schools Ratchathewi District, Administration. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Vocational Act (2008). (February 29, 2008). Government Gazette. 125(43a), 1-24.