การพัฒนากลยุทธ์เพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพแวดล้อมของวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจเพื่อสังคมในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ 2. ศึกษาแนวทางการยกระดับวิสาหกิจชุมชนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมและความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจเพื่อสังคมในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ และ 3. พัฒนากลยุทธ์ เพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม นำผลจากการวิเคราะห์แก่นสาระ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ/ผู้บริหารระดับสูงของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ/ผู้บริหารระดับสูงของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวชุมชน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพแวดล้อมของวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจเพื่อสังคมในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ประกอบด้วย 10 ปัจจัย ได้แก่ (1) เอกลักษณ์ของพื้นที่/ชุมชน (2) หน่วยงานภาครัฐ/วิสาหกิจที่มีภารกิจในการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยว (3) เครือข่ายการพัฒนากิจกรรมและทรัพยากรการท่องเที่ยว (4) ผลิตภัณฑ์และการบริการ (5) ความพร้อมของพื้นที่/ชุมชน (6) องค์กรและบุคคลผู้ใช้บริการท่องเที่ยว โดยชุมชน (7) แหล่งทุน (8) สถาบันการศึกษา/องค์กรที่ปรึกษาเฉพาะทาง (9) แฟลตฟอร์ม/ระบบเครือข่ายและช่องทาง เข้าถึง (10) การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ 2. แนวทางการยกระดับวิสาหกิจชุมชนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมและความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจเพื่อสังคมในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วย (1) ภาวะผู้นำและการนำองค์กร (2) ลักษณะที่ดีของการให้บริการ (3) ความเป็นผู้ประกอบการทางสังคม (4) การนำเสนอเรื่องราวของสินค้า/บริการ (5) มูลค่าเพิ่มของสินค้า/บริการ (6) ความสามารถในการขยายการท่องเที่ยว (7) รูปแบบหรือโมเดลของวิสาหกิจเพื่อสังคม/กองทุน (8) โครงสร้างขององค์กร (9) ความโปรงใส ในการจัดการ และความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจเพื่อสังคมในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วย (1) ความสามารถในการแข่งขันจากฐานทรัพยากร (2) การสร้างความแตกต่าง (3) การรับรองมาตรฐาน (4) ความเชื่อถือในตราสัญลักษณ์และผลิตภัณฑ์ (5) คุณภาพของผลิตภัณฑ์ 3. การพัฒนากลยุทธ์เพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ประกอบด้วย (1) ภาวะผู้นำและการนำองค์กร (2) การกำหนดประเด็นเพื่อแก้ไขปัญหา/การพัฒนา (3) ข้อเสนอเชิงคุณค่า และกลุ่มลูกค้า (4) การตลาด (5) ความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า (6) ช่องทาง (7) ทรัพยากรสำคัญ (8) กิจกรรมหลัก (9) แผนการเงิน (10) รายได้จากกลุ่มลูกค้า (11) พันธมิตรสำคัญ (12) ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (13) กองทุนท่องเที่ยวโดยชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Agranoff, R., & McGuire, M. (2003). Collaborative Public Management: New Strategies for Local Government. Wachington, DC: Georgetown University Press.
Creech, H. et al. (2014). Small-Scale Social-Environmental Enterprises in the Green Economy: Supporting Grassroots Innovation. Development in Practice, 24(3), 366-378.
Cung, N., Duc, L., Oanh, P., & Hong Gam, T. (2012). Social Enterprise in Vietnam: Concept, Context and Policy. British Council: Vietnam- Hanoi.
Dees, G. J., (1998). The Meaning of Social Entrepreneurship. Retrieved October 31, 1998, from http://www.caseatduke.org/documents/dees_sedef
Laville, J., & Nyssens, M. (2001). The Social Enterprise: Towards a Theoretical Socio-Economic Approach. Research September 6, 2001, from https://www.semanticscholar.org/paper/The-Social-Enterprise%3A-Towards-A-Theoretical-Laville-Nyssens/10b07a0f65d8655ade3cd385ae1971481ecbf955
Lussier, R. N. (2006). Management Fundamentals: Concepts, Applications, Skill Development. (3rd ed.). Mason, OH: Thomson/South-Western.
Matei, L., & Matei, A. (2015). The Single Market and the Social Enterprise, from Models to Realities in Some EU Member States and Countries from the Balkans. International Review on Public and Nonprofit Marketing, 12(1), 63-77.
Mintzberg, H., & Waters, J. A. (1985). Of Strategies Deliberate and Emergent. Strategic Management Journal, 6(3), 257-272.
Nielsen, C., & Samia, P. M. (2008). Understanding Key Factors in Social Enterprise Development of the BOP: A Systems Approach Applied to Case Studies in the Philippines. Journal of Consumer Marketing, 25(7), 446-454.
Phanthasen, A. (2019). Leadership in the Context of Social Innovation. (1st ed.). Pathum Thani: Rangsit University Press.
Porter, M. E., & Advantage, C. (1985). Creating and Sustaining Superior Performance. Competitive advantage, 167, 167-206.
Purnomo, D., Pujianto, T., & Efendi, N. (2015). Unpad-Ibu Popon Collaboration; A Best Practice in Sustainable Assistance Model for Social Entrepreneurship in Agro-industrial Based SME's. Journal of Agriculture and Agricultural Science Procedia, 14(3), 206-210.
Robertson, J. L., & Barling, J. (2013). Greening Organizations Through Leaders' Influence on Employees' Pro-Environmental Behaviors. Journal of Organizational Behavior, 34(2), 176-194.
Schlegelmilch, B., Diamantopoulos, A., & Kreuz, P. (2003). Strategic Innovation: The Construct, its Drivers and its Strategic Outcomes. Journal of Strategic Marketing, 11(2), 117-132.
Thaipat Institute Rural Restoration Foundation of Thailand under Royal Patronage. (2020). Do Not Confuse CSR with Social Enterprise, Retrieved December 31, 2022, from http://www.thaicsr.com/2010/06/csr-social-enterprise.html
Villis, U., Strack, R., Bruysten, S., & Yunus, M. (2013). The Power of Social Business. Retrieved November 6, 2013, from https://www.bcg.com/publications/2013/corporate-social-responsibility-poverty-hunger-power-social-business