เครือข่ายชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน: อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
อรชร ไกรจักร์
กรรณิการ์ ตั้งตุลานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเครือข่ายชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน 2) เพื่อเสริมสร้างชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน 3) เพื่อวิเคราะห์ การจัดการขยะเชิงเครือข่ายชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน การวิจัยในครั้งนี้ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชนต้นแบบ 9 ชุมชน แล้ววิเคราะห์แนวคิด ความหมาย ความรู้ และแนวปฏิบัติในการสร้างเครือข่ายชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยลงพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน


ผลการวิจัยพบว่า 1. เครือข่ายของชุมชนปลอดขยะต้นแบบ 9 ชุมชน มีรูปแบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกลุ่มคนกับองค์กรที่มีเป้าหมายเดียวกัน ทำกิจกรรม ช่วยเหลือ และมีผลประโยชน์ร่วมกัน เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะให้ชุมชนอื่นหรือผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาดูงาน หรือขอการสนับสนุนในกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ 2. การเสริมสร้างชุมชนปลอดขยะ ให้ยึดหลัก “บวร” คือ ชุมชน วัด โรงเรียน เป็นฐานคิดในการเสริมสร้างชุมชนปลอดขยะวิถีพุทธให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยประกอบด้วยเครือข่าย 2 ประเภท คือ 1) เครือข่ายที่ให้การสนับสนุนส่งเสริม ได้แก่ วัด โรงเรียน หน่วยงานการกุศล 2) เครือข่ายที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ หมู่บ้านอื่นๆ ในตำบลบ้านป้อม ตำบลภูเขาทอง และตำบลสำเภาล่ม 3. กิจกรรมเป็นตัวนำในการละลายพฤติกรรม ทำให้ถูกใจผู้ปฏิบัติที่เป็นกลุ่มคนที่รักความสะอาด ทำให้ทุกคนจัดการขยะด้วยความเข้าใจ ด้วยความเข้าถึง และมีความสุข โดยวางแนวทางปฏิบัติเป็น 4 ฐาน 5 กิจกรรม เพื่อมุ่งหวังให้กลุ่มตัวอย่างต้นแบบมีความสามัคคี ร่วมใจกันพัฒนาหมู่บ้านให้สะอาด ปลอดขยะ สวยงาม และการขยายแนวปฏิบัตินี้ไปยังชุมชนอื่น ทำให้ต้นแบบชุมชนสามารถดำเนินการต่อไปอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kirdklinhom, S. (2019). Guidelines for Public Participation in Municipal Solid Waste Management: Nakhon Si Thammarat Municipality. (Master’s Thesis). Graduate School: National Institute of Development Administration. Bangkok.

Kongjun, S. et al. (2021). Integrated Management Model of Community-Based Waste. Journal of MBU LNC, (28)2, 137-153.

Local Administration Office. (2021). Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Retrieved April 15, 2022, from https://ww2.ayutthaya.go.th/personal_board/?cid=35&limit=20

Master Plan under National Strategy. (2021). Issue 18 Sustainable Growth. Retrieved April 15, 2022, from http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2021/01/19_ NS_18.pdf

Ministry of Industry. (2020). The Development Guidelines of Thai Industries According to the Circular Economy Concept. Bangkok: Office of Industrial Economics.

Muenmat, A. (2021). The Crushed World with Waste, the Huge Problem that It's Hard to Fix. Retrieved April 15, 2022, from https://www.salika.co/2022/03/28/world-of-waste-big-problem/

Office for the Promotion of Local Government. (2022). Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Retrieved April 15, 2022, from http://www.ayutthayalocal.go.th/frontpage

Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. (2022). Phra Nakhon Si Ayutthaya District. Retrieved April 11, 2022, from https://ww2.ayutthaya.go.th/amphur_content/cate/11

Pollution Control Department. (2021). Information on the Situation of Solid Waste in Thailand. Retrieved January 25, 2023, from https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2564#:~:text

Pollution Control Department. Ministry of Natural Resources and Environment. (2016). National Solid Waste Management Master Plan (2016-2021). Bangkok: Active Print Company Limited.

Wongpakdee, R. et al. (2020). Solid Waste Management of Sawasdee Village at Kalantha Sub-District, Muang District Buriram Province. Journal of MBU LNC, 27(1), 59-68.