การพัฒนาปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายการใช้กัญชาทางการแพทย์ โดยพุทธสันติวิธี

Main Article Content

ประทุมพร กำเหนิดฤทธิ์
พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์
อดุลย์ ขันทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์บริบทการใช้กัญชาในสังคมไทย สภาพปัญหาและผลกระทบเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายการใช้กัญชาทางการแพทย์ 2) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายการใช้กัญชาทางการแพทย์ 3) เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอการพัฒนาปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายการใช้กัญชาทางการแพทย์โดยพุทธสันติวิธี การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนา ด้านพุทธสันติวิธี ด้านกฎหมาย ด้านการวิจัย ด้านการแพทย์ ผู้มีส่วนได้เสียและผู้เกี่ยวข้อง


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ.1961 ใช้คำว่า “คลังยาเสพติด” หมายความถึง ปริมาณยาเสพติดที่ภาคีประเทศตกลงยินยอมให้ใช้ในทางการแพทย์หรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในประเทศได้ แต่ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มิได้มีหลักการนี้ไว้ กฎหมายยาเสพติดให้โทษของไทยจึงไม่เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสากล และการเปลี่ยนสถานะพืชกัญชาเป็นยาเสพติด ทำให้เกิดมายาคติว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษมากว่า 40 ปี แม้จะมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ซึ่งยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยมีบทบัญญัติให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ประกาศกำหนดระบุชื่อยาเสพติดให้โทษว่ายาเสพติดให้โทษชนิดใดอยู่ในประเภทใด และเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือยาเสพติดให้โทษ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้กัญชาพ้นจากสถานะเป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัด THC เกินกว่าร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักเท่านั้น ซึ่งเป็นหลักการใช้กัญชาทางการแพทย์ตามภูมิปัญญาไทย และการใช้กัญชาในครัวเรือนตามบริบทสังคมไทย นับว่าเป็นการพัฒนาปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายการใช้กัญชาทางการแพทย์ไปอีกขั้นหนึ่ง แต่ครั้นกฎหมายมีผลบังคับใช้ ก็ปรากฏกระแสการใช้กัญชาเสรี ดังนั้น สังคมไทยคงต้องมีการพัฒนากฎหมายไปในแนวทางที่เหมาะสมต่อไป 2) กระบวนการพัฒนาปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายใช้หลักอริยสัจ 4 บูรณาการกับหลักการพัฒนากฎหมายได้กระบวนการที่เรียกว่า 4 Four with 2P2M กล่าวคือ 1. F คือ Focus หมายถึง กำหนดประเด็นความจริงของปัญหา 2. O คือ Opportunity โอกาสหาสาเหตุที่แท้จริง คือรักษาความป่วยไข้ และเป็น “โอกาส” ทางด้านเศรษฐกิจ 3. U คือ Utility เกิดอรรถประโยชน์หรือประโยชน์สาธารณะทำให้การกระทำของผู้ป่วยและแพทย์ไม่เป็นความผิด และ 4. R คือ Restorative justice หมายถึง ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เน้นยุติธรรมที่ไม่ใช่เน้นความผิดในตัวกฎหมาย แต่ต้องมีภาระหน้าที่ต่อสังคม โดยพัฒนากฎหมาย 2P ตามหลักการพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสากล และหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน 2M ตามหลักการแพทย์โดยแพทย์แผนไทยร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน โดยทางสายกลาง 3) นำเสนอการพัฒนาปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายการใช้กัญชาทางการแพทย์โดยพุทธสันติวิธี เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและสังคมไทยสันติสุขอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Charnvirakul, A. (2022). Anutin Insists the Use of Marijuana Is for Medical Purposes Only and Not for Commercial or Recreational Purposes. Cannabis for Healthy Life. Retrieved September 3, 2023, from https://www.cannhealth.org/content/6152/

Katesomboon, S. (2019). Optimal Dosage for Medicinal Cannabis Use. Training Documents Medical Cannabis, (22-23 October 2019). Retrieved September 17, 2022, from http:// www.neurothai.org/media/news_file/340-Handout-Phataphong-20191212073846.pdf

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Namburi, S. (2019). Participation Theory in Public Administration. The Journal of Research and Academics, 2(1), 183-197.

Panithas, P. (2018). Universal Principles: Legal Aspect and Globalization. the Knowledge Windows. Julaniti Journal, 15(5), 197-200.

Paupongpun, P. (2022). Withdraw the Cannabis Bill: Longer Vacuum for Who’s Benefit?. Retrieved September 17, 2022, from https://www.mgronline.com /daily/detail/9650000089262

Rosana, T. (2021). The Former Senator, Focus Group. December 21, 2021.

Single Convention on Narcotic Drugs, 1961, Article 1: Definitions (X)

Somchai, S. (2021). The Senator. Interview. November 20, 2021.

Somdet Phra Buddhaghosacariya (P.A. Payutto). Buddhist Style Jurisprudence. (2550-2564).

The Criminal Code Thai, Section 305.

Wikipedia. (2021). Ariyasacca. Retrieved July 5, 2021, from https://www.th.wikipedia.org/wiki/Ariyasacca4.

Wongwattanasan, C. (2020). Legal Development. Administrative Law Journal, 24(3), 3-32.

Universal Declaration of Human Rights or UDHR Article 25 (1).