กลยุทธ์การบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกันสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

Main Article Content

สำเริง บุญโต
สุเนตร ขวัญดำ
รวิชญุฒม์ ทองแม้น
ชัยสิทธิ์ คุณสวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) สร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการการนิเทศการศึกษา และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารจัดการการนิเทศการศึกษา ดำเนินการวิจัยในการสร้างและพัฒนากลยุทธ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 24 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรที่รับผิดชอบด้านนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 3 คน และบุคลากร       ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัด ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 8 คน และครูหัวหน้างานนิเทศภายใน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกผลการวิเคราะห์เอกสาร และแบบประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์คือ การบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาขาดความเป็นระบบในด้านการกำกับติดตามที่ต่อเนื่องและการนำผลการนิเทศมาปรับปรุงพัฒนาคุณภาพ จึงส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนในสังกัด รวมถึงยังไม่มีรูปแบบหรือกลยุทธ์การบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาที่ชัดเจนเพียงพอและเป็นรูปธรรม 2) ผลการสร้างกลยุทธ์มี 5 องค์ประกอบหลักได้แก่ 1) ชื่อกลยุทธ์ คือกลยุทธ์การบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกันสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ 2) วิสัยทัศน์ 3) พันธกิจ 4 ข้อ 4) เป้าประสงค์ 7 ข้อ และ 5) มีกลยุทธ์อยู่ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำ ด้านกระบวนการนิเทศโดยใช้ PLC-LS ด้านครู และด้านผู้บริหารสถานศึกษา มี 7 กลยุทธ์หลัก 28 กลยุทธ์รอง และ 138 กิจกรรมเพื่อพัฒนา และ 3) ผลการประเมินกลยุทธ์พบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.49, S.D.=0.55) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.47, S.D.=0.57) ส่วนความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.63, S.D.=0.53)

Article Details

How to Cite
บุญโต ส. ., ขวัญดำ ส. ., ทองแม้น ร. . ., & คุณสวัสดิ์ ช. . (2023). กลยุทธ์การบริหารจัดการการนิเทศการศึกษาโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านการพัฒนาบทเรียนร่วมกันสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(5), 1733–1746. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/263206
บท
บทความวิจัย

References

Boonlom, B., & Siribunsobh, T. (2021). Administrative Strategies for Excellence for National Quality Award of World Class Standard Secondary School under the Jurisdiction of Basic Education Commission Office. Journal of MCU Nakhondhat, 8(10), 170-188.

Dufour, R. (2007). Professional Learning Community: A Bandwagon, an Idea Worth Considering, or Our Best Hope for High Levels of Learning? Middle School Journal, 39(1), 4-8.

Fernandez, C., & Yoshida, M. (2004). Lesson Study: A Japanese Approach to Improving Mathematic Teaching and Learning. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associate.

Kinicki, A., & Williams, B. (2019). Management: A Practical Introduction. (9th ed.). New York: McGraw-Hill Education.

Laowreandee, W. (2010). Instructional Supervision. Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Office of the Council of state. (2009). Learning Reformation Project to Learners (2014-2017), Problems Reflections and Solutions to Thai Educational Reformation Responding. Bangkok: Office of the Council of State.

Phuttharak, S., Wannasri, J., Chansira, W., & Mejang, S. (2013). Strategic Development for Supportive Function of Academic Administration in the Office of Primary Educational Service Area. Journal of Education Naresuan University, 15(5), 225-233.

Rangchaikulwiboonsee, Y. (2014). Project Evaluation: Concept and Practice. Bangkok: Chulalongkorn University.

Thumsongkram, N., Intusmit, S., & Soinaam, S. (2014). The Development of Education Supervision Model for Primary Education Service Area Office in the Northeastern Region. Journal of Educational Administration, Khon Kaen University, 10(2), 163-171.

Wongkorm, A. (2009). Educational Supervision Model in Education Service Area Office. (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. Bangkok.

Wongnaya, S., & Chaowakeeratiphong, T. (2015). Strategy Movement for the Second Decade Educational Revolution in Basic Schools under Kamphaeng Phet and Tak Primary Educational. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 21(3), 107-123.