รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน โดยพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อุบลวรรณ ขันธหิรัญ
พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์ไกล่เกลี่ย และแนวคิดทฤษฎีการบริหารจัดการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธสันติวิธีที่ส่งเสริมการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์ไกล่เกลี่ย 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน โดยพุทธสันติวิธี ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร และเชิงปฏิบัติการ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 21 คน ณ ตำบลสวาย โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ที่ผ่านมาชุมชนไม่เห็นความสำคัญในการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ภาคประชาชนตาม พรบ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 และไม่มาใช้บริการ ประกอบกับคณะทำงาน และผู้ไกล่เกลี่ยยังขาดความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องและทักษะในการไกล่เกลี่ยตาม พรบ. ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงาน 2) ผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีหลักการบริหาร 4M’s และ7s McKinsey กระบวนการตรวจสอบการบริหารภายในองค์กร และเกณฑ์มาตรฐานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน 4 ด้าน มาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามแนวทางการวิเคราะห์ปัญหาของอริยสัจ 4 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นทุกข์ การค้นหาสภาพปัญหา (2) ขั้นสมุทัย การค้นหาสาเหตุของปัญหา (3) ขั้นนิโรธ การกำหนดวิสัยทัศน์การดำเนินงาน และ (4) ขั้นมรรค การค้นหากลยุทธ์ในการดำเนินงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ 3) รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ ตำบลสวาย (SAWAI Model) มีองค์ประกอบ ดังนี้ (1) S : Skills คณะทำงานได้รับการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ และการไกล่เกลี่ย (2) A : Aspiration คณะทำงานมุ่งมั่นให้เกิดผลตามแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ (3) W : Wisdom คณะทำงานได้รับการพัฒนาปัญญาภายในและภายนอกให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน (4) A : Acknowledgement ชุมชนเชื่อมั่นในศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ และใช้บริการศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ (5) I : Integration การบูรณาการการทำงานร่วมกันของคณะทำงาน และการบูรณาการการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภายนอก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buranasing, B., (2020). A Model of the Mediation in Public Disputes by Buddhist

Peaceful Means: A Case Study of Sawai Subdistrict, Prang Ku District, Sisaket Province. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Conflict Management Promotion Division Rights and Liberties Protection Department. (2022). “Reconciliation Society Create a Mediation Culture”, Conciliation Work. 23 September 2022.

Dispute Mediation Act, B.E. 2562 (2019). (2019). Government Gazette. 136, 21.

Ministry of Justice Regulations on Payment of Compensation and Other Expenses Necessary

for Dispute Mediation, B.E. 2564 (2021). (2021). Government Gazette. 138, 289 D.

Napanukroh, W. et al. (2022). Learn from the “Private Mediation Center” Case Study in California. United States, Dispute Mediation Training Course at Pepperdine University, 13 - 28 September 2015, Group 3. Retrieved May 3, 2021, from https://oia.coj.go.th/th/file/get/file/20180925d88d584cf025231dfb03d7054f92cc 23194911.pdf

Ngammuangsakul, U. et al. (2020). People's Conciliation Law. Thammasat University Journal of Law, 49(2), 297-315.

Office of Justice Affairs, (2020). Operation Manual of the Public-Sector Dispute Mediation Center (NESDB) Under the Mediation Act B.E. 2562 (2019). (2nd ed.). Bangkok: Reprint Company Limited.

Office of Planning and Budget. (2022). Statistics of Pending Cases, New Receipts, Completed and Pending Cases of Courts Across the Kingdom for the Year 2021. (January – December) Retrieved May 3, 2021, from https://oppb.coj.go.th /th/file/get/file/20220127e5808a48770d49f781c30f027dec1d52124425.pdf

Phra Charoenpong Thammathipo (Wichai). (2013). Participative Administration According to the Four Noble Truths for the Board of Basic Education in Primary Schools, Phanom District, Surat Thani Province. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Pratheuangrattana, C. (2021). Public-Sector Dispute Mediation Under the Dispute Mediation Act B.E. 2562 (2021): Opportunities and Challenges. Journal of Thai Justice System, 14(3), 1-16.

Pratoomkaew, S., Phrakrupariyatikananurak Srisomngam, & Phra Veerapong Kosa, (2021). Power of Boworns (Community, Temple and School) in Driving the Buddhism Moral Community in Thai Society. Academic MCU Buriram Journal, 6(2), 346-359.

Regulations of the Rights and Liberties Protection Department on Subsidy for Public-Sector Dispute Mediation Center, B.E. 2564 (2021). (2021). Government Gazette. 138, 321 D.

Roongruangphadung, P., (2019). Development of Sappaya Principle to Increase Efficiency in Mediating Disputes. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Tongkachok, K. Apinawatharakul, K., & Thongkhachok, T. (2019). Mediation of Disputes in the

Community. Library Journal Thaksin University, 8, 85-101.