กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2

Main Article Content

เกษมเวียง อริยะสุนทร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพ ปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร เขต 1 และ เขต 2 2. เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร เขต 1 และ เขต 2 3. เพื่อประเมินกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร เขต 1 และ เขต 2 ผู้ให้ข้อมูลจำนวนประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารและผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร เขต1 และเขต 2 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และการประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านสภาพการพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษามีการดำเนินงานทั้ง 4 ด้าน (PDCA) แต่ผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา มีการปฏิบัติไม่ครบถ้วนและไม่ครอบคลุมขอบเขตของงาน ด้านปัญหาการพัฒนาสมรรถนะ พบทั้ง 4 ด้าน (PDCA) ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีปัจจัยคน งบประมาณ นโยบายและการเมือง ด้านความต้องการพัฒนาสมรรถนะ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.57) ได้แก่ สามารถสร้างเครื่องมือเพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษา (2) กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมี 8 กลยุทธ์ มีดังนี้ 1) เสริมสร้างระบบการวางแผนการพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2) พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการวางแผนพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 3) เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ 4) เร่งรัดการพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 5) พัฒนาเครือข่ายการพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 6) ยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรในการพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 7) พัฒนาระบบและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการกำกับ ติดตาม ประเมินผล และการนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และ 8) ส่งเสริมการนำผลการประเมินการพัฒนาสมรรถนะมาวางแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้ดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (3) ผลการประเมินกลยุทธ์พบว่า กลยุทธ์มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.37)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ajinsamajan, C. (1997). Administration Education. Bangkok: Bangkok Press Center.

Boonpong, N. (2017). Presentation of the Model of the School Network Administration of the Primary Education Service Area Office. (Doctoral Dissertation). Phranakhonsriayuttaya Rajphbat University. Phranakhonsriayuttaya.

Chewpreecha, T. (2008). The Guideline Administration Corporation School under Government: Mahidolwittayanusorn Case Study. Bangkok: Education Council Secretariat.

Deming, W. E. (1986). Out of the Crisis. MIT Press.

Khaejonnan, N. (2009). Strategy Management. Bangkok: SE-eduation.

Khaotean, U. (2003). Strategic Planning. (3rd ed.). Bangkok: Dansuttha Printing.

Nantawichit, S. (2009). Creating a Corporate Culture towards Excellence. Productivity World, 13(74), 18-24.

Niran, S. (2010). Strategic Planning Summary. (2nd ed.). Bangkok: C&N.

Sawekwan, P. (2013). Development of Strategies for Administration of Educational Quality Development Plans of High-Level Educational Institutions Foundation under the Office of Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area District 1 and District 2. (Doctoral Dissertation). Kamphangphet Rajaphbat University. Kamphangphet.

Tiyao, S. (2001). Strategy Management. Bangkok.: Thammasart University Printing.

Wongkiatrat, W. (2008). Strategic Planning Management in Government Sectors. Bangkok: Department of Public Administration. Faculty of Political Science, Chulalongkorn University.