รูปแบบการป้องกันปัญหายาสูบผิดกฎหมายภาษีสรรพสามิต ในเขตพื้นที่ชายแดนไทย ลาว กัมพูชา

Main Article Content

วันทนีย์ โพธิ์งาม
จุฑามาส ชมผา
นิศานาจ โสภาพล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหายาสูบผิดกฎหมายภาษีสรรพสามิต       ในเขตพื้นที่ชายแดนไทย ลาว กัมพูชา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการป้องกันปัญหายาสูบผิดกฎหมายภาษีสรรพสามิตในเขตพื้นที่ชายแดนไทย ลาว กัมพูชา เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัยโดยใช้พื้นที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีพื้นที่ติดชายแดนติดกับ สปป. ลาว และกัมพูชา โดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ 159 ราย และสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานจำนวน 15 ราย กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 174 ราย วิเคราะห์และนำเสนอผลการวิจัยเชิงสถิติและพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ปัญหายาสูบผิดกฎหมายภาษีสรรพสามิตในเขตพื้นที่ชายแดนไทย ลาว กัมพูชา พบการกระทำผิดใน 2 ลักษณะคือ การขนย้ายยาสูบแบบกองทัพมด และการลักลอบขนย้ายตามเขตชายแดนโดยไม่ผ่านจุดผ่อนปรนของเจ้าหน้าที่ โดยประเภทยาสูบผิดกฎหมายพบว่า เป็นยาสูบปลอม และยาสูบเถื่อน สาเหตุในการกระทำผิดเนื่องจากไม่ทราบกฎหมาย ยาสูบผิดกฎหมายมีราคาถูกกว่า และพื้นที่ชายแดนสามารถเข้าถึงยาสูบผิดกฎหมายได้ง่าย โดยจากการวิจัยพบว่า พื้นที่ตำบลที่มีชายแดนติดกับ สปป. ลาว และกัมพูชาพบการกระทำผิดมากกว่าพื้นที่ตำบลที่อยู่ชั้นใน โดยเฉพาะตำบลโซง อำเภอน้ำยืน ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับกัมพูชา และมีจุดผ่อนปรน มีการค้าระหว่างชายแดนซึ่งพบการกระทำผิดมากกว่าพื้นที่อื่นๆ 2) การสร้างรูปแบบการป้องกันปัญหายาสูบผิดกฎหมายภาษีสรรพสามิตในเขตพื้นที่ชายแดนไทย ลาว กัมพูชา พบว่า ต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการของรูปแบบการป้องกันปัญหายาสูบผิดกฎหมายภาษีสรรพสามิต โดยเน้นหลักการบูรณาการ 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีการดำเนินงานรูปแบบการป้องกันปัญหายาสูบผิดกฎหมายภาษีสรรพสามิต โดยการสร้างองค์ความรู้ การสื่อสารระหว่างทุกภาคส่วนเพื่อการเปลี่ยนแปลง การประสานความร่วมมือพหุภาคี การใช้บันไดการมีส่วนร่วม การเชื่อมโยงความคิด การสะท้อนย้อนปัญหา และ 4) องค์ประกอบด้านเงื่อนไขความสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Beane, James A. (1991.). Curriculum Planning and Development. Boston: Allyn and Bacon.

Channgakham, P., Wongpit, P., & Lassachack, X. (2011). National Revenue Loss from Illicittobacco Tradein Lao PDR. Laos: Research of Department of Economics, Faculty of Economics and Business Management National University of Lao PDR.

Cumming, T. G., & Worley, C. G. (2013.). Organization Development and Change. (10th ed.). USA: Cengage Learning.

Curti, D. et al. (2018.). Tobacco Taxation, Illegal Cigarette Supply and Geography. BMJ Journals, 8(Sup1), S53-S60.

Excise Department. (2021.). Annual Report 2021. (1st ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited.

Haysom, S. (2019). The Illicit Tobacco Trade in Zimbabwe and South Africa. USA: Washington D.C.

Keane, R., & Adam M. (2017.). An Analysis of the Australian Illicit Tobacco Market. Journal of Financial Crime, 24(1), 35-47.

National Debt Resolution Commission. (2019.) Meeting Report. (1st ed.). Bangkok: National Debt Resolution Commission.

Puttichart, W. (2014). The Model for Drug Problem Prevention and Solution in Thai –Laos Border Villages. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani.

Tianam, N., Kwunnate, J., & Suchairatanachoke, A. (2018) The Solution of Smuggling and Consumption of Illicit Cigarettes by Thailand – Cambodia Border in Eastern Areas. (Research Report). Bangkok: Tobacco Control Research and Knowledge Management Center.