รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนางานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3

Main Article Content

ชญากาญจธ์ ศรีเนตร
จำเนียร พลหาร
กฤษกนก ดวงชาทม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาเครือข่ายฯ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาเครือข่ายฯ 4) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบฯ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล มีผู้ทรงคุณวุฒิ ครู ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารศูนย์เครือข่าย  รวมจำนวน 195 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสม แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญแบบประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ แบบทดสอบ แบบประเมินพฤติกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก มีองค์ประกอบ 5 ด้าน 35 ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.43) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.54) 2) สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}  = 3.27) สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.61) 3) ผลการสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย 1) หลักการแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาของรูปแบบ ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 ความร่วมมือทางวิชาการ หน่วยที่ 2 กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา หน่วยที่ 3 การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ หน่วยที่ 4 การติดต่อสื่อสารทางวิชาการของเครือข่าย หน่วยที่ 5 การพัฒนาบุคลากรเครือข่าย 4) กระบวนการพัฒนา 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 6) การประเมินผล และ 7) เงื่อนไขความสำเร็จ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.61) ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.59) และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.81) 4) ผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบฯ ระดับพฤติกรรมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา เมื่อได้นํามาทดลองใช้ และปรับเปลี่ยนวิธีการทํางานให้เกิดความร่วมมือเพื่อการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นการสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิชาการให้ทุกฝ่ายเห็นความสําคัญของเครือข่าย และระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.65)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Badaracco, J. L. (1998). Managing Alliances in Strategic Synergy. pp 193-208. Edited by Andrew Campbell and Kathleen Sommers Luchs, London.

Bunpong, N. (2017). A Proposed Model for School Network Management of The Primary Educational Service Area Office. (Doctoral Dissertation). Ayutthaya Rajabhat University. Ayutthaya.

Bunradom, J., Bhoomkhokrak, P., & Phucharoean, S. (2020). The Network Educational Administration Model of School under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office. Ratchaphruek Journal, 18 (3), 39-45.

Goldsmith, S., & Eggers. (2004). Governing by Network. Washington, D.C.: Brooking Institution Press, W. D. University.

Kaewhawong, T. (2003). Community Strengthening Process. Khon Kaen: Northeastern Primary Health Training and Development Center.

Khajonnan, N. (2006). Organization Change and Development Strategy. Bangkok: Expernet.

Nakhakasian, P. (2016). Developing a Network of Health Promotion. Bangkok: Mata Karnphim.

Office of Khon Kaen Primary Education Area 3. (2020). Report of the Operating Results of the Fiscal Year 2019. Khon Kaen: Office of Khon Kaen Primary Education Area 3.

Office of the Basic Education Commission (OBEC). (2015). Annual Report 2015. Bangkok: Office of the Basic Education Commission (OBEC).

Office of the Basic Education Commission (OBEC). (2017). Strategic Plan for Small School Development 2015-2018. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.

Ritthisang, N. (2018). The Developing of School Network Group Administration Guidelines for Educational Quality Development for Schools under the Office of Roi Et Primary Education Service Area Office 1. (Master’s Thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Saengnaphaboworn, W. (2008). Developing the Quality of Education in Small Schools: The Case of School Groups in Sai Noi Subdistrict. Thailand Education Journal, 4(5), 6-7.

Sathapitanon, P., & Thirapan, Ch. (2003). Communicate with Social Networks. Training Course Documents 3 “Strengthening Networking” Local Community Development Institute. Bangkok: Institute of Learning and Community Development.

Sriwilad, A. (2014). Report of the Women's Peace Network Project in the Southern Region. Bangkok: Peace and Governance King Prajadhipok's Institute.

Teekaporn, T. (2017). The Development of Participative Management System to Effective Promotion High School Cluster at Uthaithani Province. VRU Research and Development Journal, 12(1), 329-342.

Theerangsu, K. (2020). The Development Guideline of a Network of Cooperation for Schools the Secondary Educational Service Area Office 24. (Master’s Thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Thummatasananon, S. (2019A). The Operational Network Administration Strategies to Develop the Small Schools under the Office of the Basic Education Commission. Journal of Education Burapha University, 30(3), 199-214.

Thummatasananon, S. (2019B). The Model of Creative Leadership Development of Basic School Administrators. Journal of Educational Research Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 14(2), 149-162.