กระบวนการสร้างศรัทธาของชาวพุทธรุ่นใหม่ด้วยการท่องเที่ยวแบบสันตินวัตวิถี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพบริบท ปัญหา และปัจจัยที่ส่งผลต่อศรัทธาของชาวพุทธรุ่นใหม่ เพื่อ 2. ศึกษาหลักพุทธสันติวิธีและการท่องเที่ยวเพื่อใช้ในการออกแบบการท่องเที่ยวแบบสันตินวัตวิถีที่เสริมสร้างศรัทธาของชาวพุทธรุ่นใหม่ เพื่อ 3. นำเสนอกระบวนการเสริมสร้างศรัทธาของชาวพุทธรุ่นใหม่ด้วยการท่องเที่ยวแบบสันตินวัตวิถี ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน สนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างชาวพุทธรุ่นใหม่ จำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่า t-test
ผลกาวิจัยพบว่า 1) ชาวพุทธรุ่นใหม่ให้ค่านิยมตามกระแสสังคมโลกาภิวัฒน์และวัตถุนิยม มีพฤติกรรมไม่อยากเข้าวัด เพราะพิธีกรรมซับซ้อน สถานที่ไม่สะอาด ข่าวเสียหายทางสื่อของพระสงฆ์ ศรัทธาชาวพุทธรุ่นใหม่ในพระพุทธศาสนาเริ่มน้อยลง 2) พุทธสันติวิธีในการออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบสันตินวัตวิถี คือ หลักไตรสิกขาโดยสอดแทรกหลักธรรมที่เกื้อหนุนให้ชาวพุทธรุ่นใหม่เกิดศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา พัฒนาตนตามหลักภาวนา 4 3) กระบวนการเสริมสร้างศรัทธาของชาวพุทธรุ่นใหม่ด้วยการท่องเที่ยวแบบสันตินวัตวิถี ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมผสานระหว่างออนไลน์และออนไซต์ 3 วัน 2 คืน มี 11 Module พบว่า กลุ่มตัวอย่างทดลองมีค่าเฉลี่ยความศรัทธาภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ความรู้งานวิจัย เรียกว่า “F-A-I-T-H MODEL” การเสริมสร้างพลังศรัทธาแก่ชาวพุทธรุ่นใหม่ ประกอบด้วย F : Faith คือ ตัวศรัทธาของผู้นำกระบวนการ A : Atmosphere คือ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ I : Innovation คือ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นสื่อให้คนรุ่นใหม่สนใจคำสอนในพระพุทธศาสนา T : Threefold Training คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขา H : Heart of peace คือ หัวใจแห่งสันติภาพ ด้วยการให้คนรุ่นใหม่ได้รู้ถึงจุดมุ่งหมายในคำสอนพระพุทธศาสนาเพื่อการเข้าถึงความสุขภายใน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Autthawuttikul, S., Sungrugsa, N., & Lakananulak, S. (2017). The Model Development of Religious Tourism Management of Ratchaburi Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 2392-2409.
Bannaruji, B. (2021). Royal Academye, Professor. Interview. October, 10.
Chiamsakol, P. (2021). Assistant Secretary of Fourteen Auto Group. Interview. September, 18.
Krunnaberger, M. (2021). Phanga Juvenile and Family Court and Mooban Withee Thai Co., Ltd. Interview. December, 11
National Strategy. (2021). National Strategy 2018-2037 Thai Future, Our Future. Retrieved May 28, 2021, from http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2019/05/ยุทธศาสตร์ชาติ-May-Full-V3.pdf
Nilsonthi, Ch., & Namwong, S. (2018). Motivation Factors on Wellness Tourism influencing Tourist Satisfaction of Spiritual Retreat Visitors. Dusit Thani College Journal, 12(2), 384-403.
Phra Bhramamoli. (Suchat Dhammaratano). (2022). Acting Abbot of Watpaknam Phasi Charoen and President of The Central Pali Language. Interview. February, 1.
Phrakruwinaitorn Satthaphat Akkadhammo (Nanan). (2020). The Crisis of Faith and Buddhists. Journal of Buddhamagga, 6(2), 244-257.
Phrakhrusangkharak Anurak Dhirasakko, & Yotkaew, P. (2017). Buddhist Tourist Identity: Indicators and Sustainability Practice According to Buddhist Way. Journal of Graduate Studies Review, 13(1), 256-267.
Prahmaha Serichon Narissaro (Phanprakhon), Panyachit, S., & Wanitchanon, Ph. (2013). Buddhist Tourism Management in Thailand. (Research Report). Ayutthaya: Buddhist Research Institute, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phramaha Suthit Aphakaro, Phramaha Saneh Dammawaro, Wongthip, P. & Phramaha Kriengsak Inthapanyo. (2010). The Model and Learning Network of Buddhist Temples Tourism in Thailand. (Research Report). Bangkok: Thailand Science Research and Innovation.
Phra Paisal wisalo. (2021). Spirit Learn Dharma Through Writing and Traveling and Looking Myself. Retrieved May 28, 2021, from https://www.visalo.org/columnInterview/ 5807Kruar.html
Phra Sutheeweerapandit, Phrabaidika Sanya Abhivanno, & Jirawatanakit, P. (2016). Strategies for Buddhist of Thai Cultural and ASIAN Tourism. Journal of MCU Buddhapanya Review, 1(3), 7-24.
Phumathon, M., Duangloy, D., & Phrapalad Raphin Buddhisaro. (2016). A Concept of Buddhist Tourism Management: Principle and Practices. Journal of MCU Humanities Review, 2(2), 50-64.
Phra Theppawaramethi. (2021). Vice-Rector for Administration of MCU. Interview. September, 5.
Phra Srisungkom Jayānuvaddho (Thanavongs). (2018). Buddhist Tourism: The Pattern and Network Tourism Management of the Temples in Thai Society. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Thai PBS. (2018). Survey Reveals Over 1.1 Billion Non-Religious People Worldwide. Retrieved May 28, 2021, from https://www.thaipbs.or.th/news/content/269750.
Thongpawa, T. (2021). Speaker of the Children and Youth Council of Thailand. Interview. September, 18.
Wattanapradith, Kh., Seethong, K., Maeshee Suda Rojjanauthai, & Areekul, Ch. (2017). The Holistic Development of Mind and Wisdom: Documentary Study and Research Synthesis. (Research Report). Ayutthaya: Buddhist Research Institute, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.