การประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ครอบครัวสันติสุข

Main Article Content

กรธิดา เดียวเจริญ
ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาหลักการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ของครอบครัวตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาหลักสติตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักสติในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้ครอบครัวเกิดสันติสุข การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์สรุปผล     ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การเสริมสร้างความสัมพันธ์ของครอบครัวตามศาสตร์สมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่ความแตกแยกของครอบครัว ด้วยการส่งเสริมการแสดงออกทางกาย ทางวาจา ทางใจ เพื่อให้ความรักความอบอุ่น ความเข้าใจซึ่งกันและกันในครอบครัว 2) สติในทางพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานในการฝึกตนเพื่อให้ระลึกรู้ตนเองในการกระทำ ความคิด และคำพูด นำไปสู่ปัญญาในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีสันติสุข และสติยังช่วยควบคุมกำกับตนเองในการรักษาศีลห้า ซึ่งเป็นพื้นฐานของการรักษาสัมพันธภาพและสร้างสันติสุขในครอบครัว 3) ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่แตกร้าวมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ความแตกต่างของพื้นฐานครอบครัวเดิม ความแตกต่างของวัยทำให้เกิดความไม่เข้าใจและนำไปสู่ความขัดแย้ง การไม่รักษาศีลทำให้ขาดความไว้วางใจ การประยุกต์ใช้สติในการรักษาสัมพันธ์ในครอบครัว ได้แก่ 1) สติกับการเผชิญปัญหาสภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว 2) สติกับการใช้ชีวิตคู่ที่มาจากวัฒนธรรมการเลี้ยงดูที่ต่างกัน 3) สติกับการแก้ปัญหาการสื่อสารของคนต่างวัย 4) สติกับการรักษาศีลเป็นแนวทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม การนำหลักสติมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นตัวกำกับและฝึกฝนทำให้เกิดสันติภายใน ที่จะนำไปสู่การสร้างสันติภายนอก ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ดี อยู่ร่วมกันได้ด้วยความสันติสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buddhadasa Bhikkhu. (1996). Dhan Sila, Phawana. Bangkok: Mental Health Publishing.

Homsombat, P. et al. (2021). Five Precepts – Observing Family: A Model and Promotion of Thai Family’s Living in Ubonratchathani Province. Mahachulalongkonrajavidyalaya University Ubonratchathani. Campus Research Project Funded by Mahachulalongkorn rajavidyalaya University.

Kaewkaewpan, V. (2018). Family Relationships with Problem of Delinquency in Adolescence. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 361-371.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

ManSoo, Yu. et al. (2010). Positive Family Relationships and Religious Affiliation as Mediators between Negative Environment and Illicit Drug Symptoms in American Indian Adolescents. Addictive Behaviors, 35, 694–699.

McCubbin, H. I., Thompson, A.I. & McCubbin, (1996). Family Assessment: Resiliency, Coping and Adaptation-Inventories for Research and Practice. Wisconsin: The University of Wisconsin.

Manosujarittam, P., Phramaha Hansa Dhammaso, & Siripha, P. (2020). An Analysis of the Buddhist Peaceful Family. Journal of MCU Peace Studies, 8(6),2465-2473.

Sirideth, P. (2021). Family knowledge. Retrieved December 30, 2021, from http://www.digital school.club/digitalschool/health4-6/health5_1/lesson3/3_3.php

Sriwan, S., Kenaphoom, S., & Phoosing, P. (2017). Social Strength Based on Strength Family Institution. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 4(2), 93-111.

Thongolan, S. (2020). The Development of Mindfulness for Peace. Mahajula Academic Journal, 7(2), 191-202.

Udtasingha. P. (2021) How to Build a Human Relationship with Colleagues. Retrived December 20, 2021 from https://www.sites.google.com/site/karphathnathaksachiwit1/bth-thi-2-thaksa-thang-