มุมมองเรื่องกรรมของชาวพุทธในสังคมไทย

Main Article Content

พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺทเวที (แสงพงษ์)

บทคัดย่อ

มุมมองเรื่องกรรมมีอิทธิพลต่อแนวคิด วิถีชีวิตของคนในสังคมไทยมายาวนาน ตั้งแต่ชนชั้นผู้ปกครองระดับสูงลงมาถึงบุคคลธรรมดาทั่วไป สถาบันพระพุทธศาสนามีสถานะเกี่ยวพันกับสถาบันชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ หลักคำสอนต่างๆ จึงถูกผนวกเข้าไปในฐานะศีลธรรมประจำชาติ คำสอนเรื่องกรรม ก็มักถูกนำไปใช้ในการปกครองบ้านเมือง สร้างค่านิยม ละชั่ว ทำดี ถือเป็นหลักคำสอนที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง ในขณะเดียวกัน คำสอนเรื่องกรรมก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการยกสถานะของผู้ปกครองให้สูงขึ้น บางยุคพบว่า คำสอนเรื่องกรรมถูกดัดแปลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง หลักคำสอนในพระพุทธศาสนา จึงตกอยู่ในภาวะขึ้นลงตามบ้านเมือง ไร้อิสรภาพ ชาวพุทธไม่น้อย มีมุมมองคลาดเคลื่อนไปจากหลักการเดิม มีชีวิตขึ้นตรงต่อเหตุปัจจัยภายนอก ไม่ใช้หลักการพึ่งพาตนเอง รอคอยโชคชะตา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องศึกษาคำสอนเรื่องกรรมให้ชัดเจนเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Bunnak, R. (2016). Karma Catches Up with Everyone! the Most Tragic Story of the Clergy Supreme Judgment by the Military Court. Retrieved June 19, 2022, from https://mgronline.com/onlinesection/detail/9590000030059

Cranston, M. (1987). John Locked and the Cast of Toleration. Edited by Susan Mendus & David Edwards. London: Clarendon Press Oxford.

Channgam, S. (1969). Buddhism. Bangkok: Charoenrat Printing Limited Partnership.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitaka. Bangkok: MCU Press.

Ngamchitcharoen, W. (2007). Theravada Buddhism. Bangkok: Thammasat University Press.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2013). Dictionary of Buddhism. (11th ed.). Bangkok: MCU Press.

______. (2015). Buddha-Dharma (Extended Edition). (4th ed.). Bangkok: Pali Dhamma Publishing Company.

Pasutarnchat. P. (2010). State and Religion; Articles on Kingdom, Church, and Freedom. Bangkok: Siam Press.

Thaweesak, S. (2013). October 6, Killing Communists Is Not a Sin. Retrieved April 10, 2013, from https://prachatai.com/journal/2013/10/49085