ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยสันตินวัตกรรม บนพื้นที่ลุ่มน้ำตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พรมงคล ชิดชอบ
ขันทอง วัฒนประดิษฐ์
พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำและความต้องการน้ำเพื่อการเกษตรบนพื้นที่ลุ่มน้ำตำบลสวาย และ 2) เพื่อจัดทำและเสนอผลการทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำโดยสันตินวัตกรรมบนพื้นที่ลุ่มน้ำตำบลสวาย เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ชุมชนด้วย SOAR การสังเกตการณ์ การสนทนากลุ่ม เทคนิคประชุมแบบ AIC การ วิเคราะห์ผลด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายสำคัญ เป็นผู้นำและสมาชิกชุมชน จำนวน 33 คน


ผลการศึกษาพบว่า 1. พื้นที่ลุ่มน้ำตำบลสวาย มีปัญหาการขาดแคลนน้ำเนื่องจากภัยแล้งในช่วง 9 เดือน มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรเพียง 3 เดือน ไม่เพียงพอต่อการทำนาปีละ 2 ครั้ง การแก้ปัญหาที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะ ขาดการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ขาดความรู้และข้อมูลสำคัญในการแก้ปัญหา 2. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำโดยสันตินวัตกรรมบนพื้นที่ลุ่มน้ำตำบลสวาย ด้วยหลักการ 3 คือ Ends-Means-Ways ที่มีพุทธสันติวิธีเป็นฐาน โดยให้ผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำผ่านการลงมือปฏิบัติ และมีพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ได้แผนยุทธศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจที่มาจากแรงบันดาลใจร่วมในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และพันธกิจให้บรรลุเป้าหมาย มีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำที่มาจากผู้นำที่มีความเห็นชอบร่วมกันนำพาชุมชนไปสู่หลักการจัดการน้ำที่ถูกต้อง สลายความเห็นที่แก้ปัญหาจากมุมเฉพาะ “ตัวเรา” เป็น “พวกเรา” ด้วยชุดความคิดที่มีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ 360 องศา ที่มาจากพลังแห่งความร่วมมือทำให้มีแหล่งน้ำที่ใช้ได้พอเพียง องค์ความรู้จากการวิจัย คือ Peace Water Drop หรือ หยดน้ำแห่งสันติภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boontongkham, N. (2017). People’s Participation in Agricultural Water Management at Pasak Basin, Phetchabun Province. Journal of MCU Social Science Review, 10(2), 189-201.

Chairuang, A., & Seechaiwong, P. (2020). The Strategy of Water Resources Management Towards Sustainable Development Through Participation of Community, Tambon Na Fai, Mueang District, Chaiyaphum Province. Journal of MCU Ubon Review, 5(1), 27-37.

Information Technology & Communication Center, Department of Agricultural Extension. (2021). Handbook for Registration and Improvement of Farmers Registration Year 2021. Retrieved March 11, 2021, from http://farmer.doae.go.th/farmer64.pdf

Olankidjaroen, S. (2016). Strategic Plan of Water Resource Management of Nongbualumpoo Province. Walailak Abode of Culture Journal, 16(2), 139–174.

Phrakru Nitichanthachot Bunkhan. (2018). Participation of the People in Water Management for Agriculture According to the Brahma-Dharma Principle. The Journal of Research and Academics, 1(3), 99–110.

Sukkorn, K., Vipasrinimit, P., & Supachantarasuk, S. (2017). Communities Participation on Strategic Management of Wang River. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 1969-1989.

Sukkul, W., & Winischaikul, N. (2012). Local Conflict Management Model: A Case Study of Maekhan Dam Project, Chiang Mai Province (Research Report). Chiang Mai: Maejo University.

Water Resources Management Strategy Subcommittee. (2018). 20 Years Water Resources Management Master Plan (2018–2037). Bangkok: Office of the National Water Recourses (ONWR).