การพัฒนาสันตุสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณี ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

รัสรินทร์ ชุติวิบูลย์ฉัตร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา บริบทความต้องการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนาสันติสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงวัยตามแนววิทยาการสมัยใหม่และตามหลักพุทธสันติวิธี ของผู้สูงวัย ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนามโดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 35 ท่าน เพื่อพัฒนาสันติสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี


ผลของการวิจัยพบว่า 1) ในพื้นที่ต.สวาย อ.ปรางค์กู่ ยังขาดความชัดเจนในด้านนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่ชัดเจน ความต้องการของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ คือ การสนับสนุนจากครอบครัว การประกันรายได้ การลดการพึ่งพาผู้อื่นให้น้อยลง การมีส่วนร่วมในชุมชน 2) การพัฒนาสันติสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงวัยนั้นมี 4 มิติคือ 1) มิติด้านสุขภาวะทางกาย 2) มิติด้านสุขภาวะทางจิตใจ 3) มิติทางด้านสังคม 4) มิติด้านปัญญาและจิตวิญญาณ ส่วนหลักธรรมที่ส่งเสริมและเหมาะสมกับการพัฒนาสันติสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงวัยโดยพุทธสันติวิธี คือ ไตรสิกขา 3) การพัฒนาสันติสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงวัย โดยพุทธสันติวิธีของ ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ได้องค์ความรู้ใหม่ 5G Model คือ 1) กายแข็งแรง (Good healthy) 2) พฤติกรรมเหมาะสม (Good behavior) 3) จิตเปี่ยมสุข (Good mental) 4) ปัญญาเบิกบาน (Good realization) และ 5) สังคมผู้สูงอายุดี (Good aging society)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Executive Summary. Research Strategies for the Problem of the Elderly and the Elderly Society (B.E. 2556-2559). (2013). Retrieved April 2, 2021, from https://rdo.psu.ac.th/th/images/ D2/budget/strategic _issues/55-59_24.pdf

Kasudom, P., Kaewdang, K., & Namwong, T. (2007). Health Behavior of the Elderly in the Eastern Region of Thailand. (Research Report). Chantha Buri: Phrapokkhao Nursing College.

Khamsamrit, C. (2017). Health Development According to Bhavana 4 to Support the Elderly Society. The Journal of Sirindhornparithat, 18(2), 62-71.

National Statistical Office. (2000). National Statistical Office B.E. 2543 (2000). Retrieved March 30, 2021, form http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/servstat.html

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2001). Dictionary of Buddhism. Bangkok: Printing Mass Product Co Ltd.

Phrakhrubaideeka Sopa Kiccasaro (Chanpeng). (2010). An Applying Buddhist Buddha Dhamma for Using in Daily Life of the Elderly Group at Ban Wah Sub-District, Muang District, Khon Kaen Province.(Master’s Thesis).Graduate School:Mahachulalongkornrajavid yalalya University. Ayutthaya.

Sinsu, N. (2007). Using Group Activities to Develop Self – Esteem of the Elderly at the Elderly Health Promoting Center of Boromarajonani College of Nursing, Nakon Lampang. (Independent Study). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Thongprateep, T. (2009). Spirituality: One Dimension of Nursing. Bangkok: Chulalongkorn University Press.