การขับเคลื่อนสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษานำร่องโดยใช้ Tuna Act Model

Main Article Content

ชลัท ประเทืองรัตนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา 2) นำรูปแบบการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา ไปประยุกต์ด้วยการอบรมผู้บริหาร คณาจารย์ในสถานศึกษานำร่อง บทความวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีพื้นที่ศึกษานำร่อง จากสถาบันการศึกษา รวมทั้งสิ้น 19 สถาบัน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ในระดับมหาวิทยาลัย 8 แห่ง อาชีวศึกษา 7 แห่ง มัธยมศึกษาและประถมศึกษา 4 แห่ง กลุ่มประชากรเป็นผู้บริหารและคณาจารย์ที่เข้าร่วมจำนวน 35 คน โดยมีการสนทนากลุ่มย่อย 2 ครั้ง เพื่อให้ความเห็นต่อสถานการณ์/รูปแบบการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาและรับรองรูปแบบ TUNA ACT Model และมีการอบรมรม 1 ครั้งให้กับผู้บริหาร คณาจารย์ โดยมีการใช้แบบทดสอบ ซึ่งได้ตรวจสอบความถูกต้องเที่ยงตรงของคําถามจากผู้เชี่ยวชาญจํานวน 3 ท่าน ในการอบรมมีการนำแบบทดสอบมาวัดความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงวัดทัศนคติเพื่อวัดความคิดเห็นที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสันติวัฒนธรรม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาร้อยละ และใช้สถิติเชิงอนุมาน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีเปียร์สัน โดยนำเสนอในลักษณะของการเล่าเรื่องพรรณนาเชิงวิเคราะห์ หลักการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการตรวจสอบความถูกต้องของผลการวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้รูปแบบที่เหมาะสมในการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาด้วย TUNA ACT Model ซึ่งผ่านการปรึกษาหารืออย่างต่อเนื่องจากผู้เกี่ยวข้อง สรุปเนื้อหาได้ว่า สันติวัฒนธรรมช่วยนำทาง ร่วมสร้างความเข้าใจเธอและฉันสื่อสารกันโดย Thinking Environment พูดคุยเป็นให้เห็นทางออกร่วมสร้างสรรค์ ผลักดันร่วมกันด้วยหัวใจ 2) จากการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการวัดผลก่อนและหลังอย่างมีนัยสำคัญ และจากแบบสำรวจทัศนคติพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติที่เอื้อ และส่งเสริมสันติวัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน นอกจากผลเชิงบวกในห้องเรียนแล้ว สิ่งสำคัญคือ ภายหลังจากอบรมเสร็จสิ้น เกิดความยั่งยืนด้วยการมีกลไกที่เป็นรูปธรรม และเกิดการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะคือ สถาบันพระปกเกล้าและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ควรมีการปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้สิ่งที่เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อนสันติวัฒนธรรม และ เพื่อให้สันติวัฒนธรรมเกิดขึ้นในสถานศึกษาอย่างยั่งยืน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จึงควรมีทั้งกลไก และกระบวนการการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เกี่ยวข้องควบคู่กันไป




Article Details

How to Cite
ประเทืองรัตนา ช. (2022). การขับเคลื่อนสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษานำร่องโดยใช้ Tuna Act Model . วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1793–1808. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/261581
บท
บทความวิจัย

References

Ban Muang. (2022). King Prajadhipok's Institute. Mobilization of a Proactive Peace Culture to Developa Pilot Model Suitable for Educational Institutions. Ban Mueang. Retrieved June 05, 2022, from https://www.banmuang.co.th/news/politic/280980

Bercovitch, J., Kremenyuk, V., & Zartman, I. W. (2009). Conflict Resolution. London: SAGE Publications Ltd.

Dryzek, J. S. (2000). Deliberative Democracy and Beyond: Liberals, Critics, Contestations. Oxford: Oxford University Press.

Elster, J. (1998). Deliberative democracy. New York: Cambridge University Press.

United Nations. (1999). Resolutions Adopted by the General Assembly. 53/2543. Declaration and Programme of Action on a Culture of Peace. Retrieved June 05, 2022, from https://documents-dds-ny.un.org/doc/UNDOC/GEN/N99/774/43/PDF/N9977443.pdf?OpenElement

Unesco. (n.d.). Education transforms lives. (Online). Retrieved June 06, 2022, from https://www.unesco.org/en/education

Viravaidya, S., & Rukspollmuang, C. (2014). Proposed Strategies for Developing a School Based on Peace Culture Promotion Network. Journal of Education Studies, 42(2), 117-130.

Rattanapong, S. (2021). A Study of Behavioral Model in Solving Cyber Bullying Problems of Youth in the Educational Institutions. Phitsanulok: Phibunsongkhram Rajabhat University.

Pratheuangrattana, C. (2014). Guidelines to Coexist Peacefully among Students of Pathumwan Institute of Technology and Rajamangala University of Technology Tawan-Ok Uthenthawai Caompus. NIDA Development Journal, 53(3), 151-173.

Pratheuangrattana, C. (2018). Factors leading to the success of mediation in schools. NIDA Development Journal, 58(3), 1-22.

Phoobuncharoenthai, C. (2009). “Pathumwan-Uthen” OHEC to increase measures to prevent conflicts. Retrieved June 5, 2022, from http://www.moe.go.th