รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเชื่อมโยงในการพัฒนาสู่กลุ่มจังหวัดราชธานีศรีโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเชื่อมโยงในการพัฒนาสู่กลุ่มจังหวัดราชธานีศรีโสธร และ 3) เพื่อประเมินพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเชื่อมโยงในการพัฒนาสู่กลุ่มจังหวัดราชธานีศรีโสธร เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ประกอบการแหล่งท่องเที่ยว ผู้นำท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว จำนวน 205 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนารูปแบบ จำนวน 16 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.18 2) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประกอบด้วย 2.1) ด้านสถานที่ท่องเที่ยว โดยการพัฒนาความดึงดูดใจ สิ่งอำนวยความสะดวก และการประชาสัมพันธ์ 2.2) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว โดยการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดราชธานีศรีโสธร ความหลากหลายของกิจกรรม และกิจกรรมที่มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น 2.3) ด้านการให้บริการ โดยการพัฒนาการให้บริการที่ทันสมัย กระบวนการให้บริการ การรับประกันคุณภาพในการให้บริการ และทักษะการให้บริการของบุคลากร 2.4) ด้านการส่งเสริมและการมีส่วนร่วม โดยการส่งเสริมจังหวัดอุบลราชธานีให้เป็นศูนย์กลางแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่าย 3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chatchawanchanchanakij, P. (2021). Tourism Components Influencing Health Tourism Image of Ranong Province. (Master’s Thesis). Dhurakij Pundit. Bangkok.
Heranya, M. (2021). Wellness Tourism Behavior of Thai Tourists in Chiang Mai. Academy of Sarasatr, 3(4), 664-676.
Kunlayakantong, N. (2019). Strategic Management for Wellness Tourism Hong Hom PhaYa-Hong Ya Mao Mueang Lanna Chiang Rai. (Master’s Thesis). Mae Fah Luang University. Chiang Rai.
Kupkitaphun, K. (2018). The Guidelines of Health Tourism Development of European Tourists in Prachuap Khiri Khan Province. (Master’s Thesis). Stamford International University. Bangkok.
Masuanjik, N. (2019). Wellness Tourism Innovation Management on Sustainable in the North Eastern of Thailand. (Research Report). Rajabhat Mahasarakham University. Mahasarakham.
Office of Permanent Secretary. (2019). Tourism Economic Review. Bangkok: Office of Permanent Secretary.
Phueakbuakhao, S., & Phueakbuakhao, W. (2021). Guidelines for the Development of Health Tourism for the Elderly in Muang District, Phachuap Khiri Khan Province. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 11(2), 4-10.
Pinyochuto, S. (2006). A Model of Health Tourism Management of the Local Organizations with the Co-operation of the Ban Khuangbuk Community, Tambon Huay-Rai, Amphoe Denchai Phrae Province. (Master’s Thesis). Uttaradit Rajabhat University. Uttaradit.
Promchun, J. (2019). Model Development for Enhancing Quality Management of Wellness Tourism Business. Journal of Technical Education Development, 31(109), 121-128.
Thansettakij. (2022). Health tourism Thai golden opportunity. Retrieved July 25, 2022, from https://www.thansettakij.com
Thaotrakool, N., & Wannaluk, P. (2020). Tourism Decision of Thai Tourists in Health Tourism Sites in Chiang Mai Province. Christian University Journal, 26(2), 72-83.
Tourism Authority of Thailand. (2009).Tourism Marketing Plan 2009. Bangkok: Tourism Authority of Thailand.