การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะด้วยกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

วิรัลยุพา ทองพัด
ธิติยา บงกชเพชร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะด้วยกลวิธีการโต้แย้งที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียงและ 2) เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะด้วยกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง เสียง รูปแบบการวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 34 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน 2) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้   3) รายงานผลการตรวจสอบและ 4)แบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพได้แก่ การวิเคราะห์ด้านเนื้อหาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะด้วยกลวิธีการโต้แย้งที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่องเสียง มีลักษณะดังนี้ 1) ครูควรใช้วิดีโอและสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้อง  กับเสียง เพื่อให้นักเรียนระบุปัญหา ตั้งสมมติฐาน ออกแบบการทดลองและเก็บข้อมูลเพื่อนำหลักฐานมาสร้างข้อโต้แย้ง 2)อธิบายองค์ประกอบการโต้แย้งให้ชัดเจน ในการโต้แย้ง นักเรียนควรนำเสนอข้อโต้แย้ง            จากหลักฐานที่ได้ และ3แสดงความคิดเห็นอย่างตรงประเด็นและครูควรใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วม และกำชับให้นักเรียนตรวจสอบและปรับปรุงรายงาน 2. ผลการส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนแสดงสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ได้สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.18 รองลงมาคือ สมรรถนะการประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 70.88 และสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 67.95 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Fakhriyah, F., Rusilowati, A., Wiyanto, W., & Susilaningsih, E. (2021). Argument-Driven Inquiry Learning Model: A Systematic Review. International Journal of Research in Education and Science (IJRES), 7(3), 767-784.

Fakkhao, S. (2018). Learning Management to Enhance 21st Century Skills. (1st ed.). Bangkok: Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

Grooms, J. et al. (2016). Argument-Driven Inquiry in Physical Science: Lab Investigations for Grades 6–8. VA: NSTA Press.

Kijkuakul, S. (2014). Beyond Academics in the Preparation of Education Leaders: Four Years of Action Research. (1st ed.). Phetchabun: Juldis Publishing.

Sampson, V., & Gleim, L. (2009). Argument-Driven Inquiry to Promote the Understanding of Important Concepts & Practices in Biology. The American Biology Teacher, 71(8), 465-472.

Sampson, V., Grooms, J., & Walker, J. P. (2011). Argument-Driven Inquiry as a Way to Help Students Learn How to Participate in Scientific Argumentation and Craft Written Arguments: An Exploratory Study. Science Education, 95, 217-257.

Soottiwayaylarkul, W. (2015). Developing Scientific Literacy Through Argument-driven Inquiry in Animal Anatomy and Physiology Topic for 11th Grade Students. (Master’s Thesis). Naresuan University. Phitsanulok.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2021). PISA 2018 Assessment Results Reading, Mathematics and Science. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).

______. (2018). PISA 2015 Assessment Results Science, Reading and Mathematics Excellence and Equality in Education. Bangkok: Success Publication Company Limited.

Walker, J. (2011). General Chemistry 2 Lab Using Argument-Driven Inquiry. North Carolina: North Carolina State University.

Walker, J., & Sampson, V. (2013). Learning to Argue and Arguing to Learn: Argument-Driven Inquiry as a Way to Help Undergraduate Chemistry Students Learn How to Construct Arguments and Engage in Argumentation During a Laboratory Course. Journal Of Research in Science Teaching, 50(5), 561-596.