การเสริมสร้างพลังใจของชาวพุทธในสหรัฐอเมริกาตามหลักพละ 5: กรณีศึกษาวัดมงคลเทพมุนี

Main Article Content

พระราชมงคลวิเทศ (น้อม กาละสังข์)
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินชีวิต    2) เพื่อศึกษาแนวคิดการเสริมสร้างพลังใจตามหลักวิชาการและตามหลักพละ 5 ตามแนวพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการเสริมสร้างพลังใจของชาวพุทธในสหรัฐอเมริกาตามหลักพละ 5 ของวัดมงคลเทพมุนี เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 23 รูป/คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างบทสรุปอธิบายความเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบท สภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินชีวิตของชาวพุทธไทย คือ ปัญหาด้านความแตกต่าง ปัญหาด้านความไม่เท่าเทียม ปัญหาด้านความเป็นอยู่ที่ไม่สะดวก และปัญหาส่วนตัว ส่วนบริบทการเสริมพลังใจของวัดมงคลเทพมุนี คือ เป็นสถานที่ให้คนไทยได้มาพบปะพูดคุย และร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา  2) การเสริมสร้างพลังใจหรือขวัญและกำลังใจให้บุคคลเกิดความเชื่อมั่นและกระตือรือร้นพร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ทุกอย่าง รวมทั้งเป็นกำลัง เป็นพลัง เป็นธรรมอันเป็นกำลัง คือความไม่หวั่นไหวอันเป็นกำลังที่ผลักดันอกุศลธรรมให้พินาศไป อันเป็นเครื่องเกื้อหนุนทำให้จิตมีความเข้มแข็งไม่หวั่นไหวในอกุศลธรรมต่างๆ และ3) แนวทางการเสริมสร้างพลังใจของชาวพุทธ คือ ขั้นที่ 1 เสริมสร้างความเชื่อให้แน่วแน่ในสิ่งที่ถูกต้อง ขั้นที่ 2 เสริมสร้างความเพียรพยายาม ขั้นที่ 3 เสริมสร้างให้มีสติ สัมปชัญญะขั้นที่ 4 เสริมสร้างจิตใจให้มีความตั้งมั่นขั้นที่ 5 เสริมสร้างความรู้ที่ถูกต้องมีความคิดที่ถูกต้องตรงกับความจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Dhammathai. (2020). The Buddhism Propagation to United Statesof America. Retrieved on December 1, 2010. From http://www. dhammathai.org/thailand/missionary/usa.php.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Phradhammapidok (P.A. Payutto). (2003). Dictionary of Buddhism.(11th ed.). Bangkok:Mahachulalongkornrajavidyalaya University Publishing.

Phradhammakosajan (Prayoon Dhammacitto). (2005). Proactive Buddhism Propagation. Bangkok:Mahachulalongkornrajavidyalaya University Publishing.

Phrakhrusuwithanphatthanabandit. (2014). The Active Buddhist Propagation in the Present Situation. The National Academic Conference. The Integration of Buddhism and New Sciences for the sustainable development of Thailand in ASEAN Community.KhonKaen:Klang Nana Wittaya Printing.

Phrakrusirithammabandit, Rujjanapan, B, &Rangsing, S. (2021). The Model of Temple Development according to 5 S. in WatPraCha Rat Sangsook Project in WatMingmuangmool Temple. The Journal of Research and Academics Vol, 4(1), 23-39.

Saartying, S. (2003). Model of Developing Temple for Center of Solving the Problems of the People at Village level in Surin Province (Research Report).Surin: SurinRajabhat University.

WatMongkoltepmunee. (2020). History of WatMongkoltepmunee, Bensalem Township, Pennsylvania, United Statesof America. Branch of WatPaknamBhasicharoen, Bangkok. N.P.

Wattanasap, W. (2012). Conflict: Principle and Tool for Solution.Bangkok:Klang Nana Wittaya Printing.