กระบวนการมีส่วนร่วมของพลัง “บวร” ตามหลักพุทธสันติวิธี ในการพัฒนาวัดให้เป็นแห่งท่องเที่ยววิถีพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและนำเสนอกระบวนการมีส่วนร่วมของพลัง “บวร” ตามหลักพุทธสันติวิธีในการพัฒนาวัดสีกุกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตุการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (AIC) การร่วมสะท้อนคิดด้วยกิจกรรม (AAR) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 รูป/คน วิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า
วัดสีกุกมีปัจจัยพื้นฐานแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธได้ โดยต้องอาศัยนักวิจัยร่วมกับนักวิจัยท้องถิ่นร่วมเป็นแกนนำ และนำหลักพุทธสันติวิธี ได้แก่ หลักอปริหานิยธรรม และ สาราณียธรรม มาบูรณาการผ่านการทำกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) การสร้างความตระหนักรู้ เปิดใจรับฟัง ร่วมแสดงความคิดเห็น 2) ร่วมค้นหาโอกาส ปรับปรุงและพัฒนา 3) จุดพลังสร้างการมีส่วนร่วมจากบุคลากรในวัด 4) เตรียมความพร้อมปฏิบัติตามแผนด้วยการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ 2 ครั้ง โดย ครั้งที่ 1 เปิดพื้นที่ขยายเครือข่าย และเตรียมความพร้อมเป็นแหล่งท่องเที่ยว ครั้งที่ 2 สานต่อความร่วมมือ สร้างพลังการมีส่วนร่วม ผลจากกระบวนการ วัดสีกุกได้รับการพัฒนาและขยายเครือข่ายจากพลัง “บวร” โดยมีวัด ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มาร่วมขับเคลื่อนวัดสีกุกให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่แหล่งท่องเที่ยวอื่นต่อไป และผลการขับคลื่อนของพลัง “บวร” คือวัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งความสุขทั้งภายนอกและภายใน สร้างรายได้เกิดเศรษฐกิจชุมชน เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่น และวัดได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน องค์ความรู้จากงานวิจัย คือ SIKUK โมเดล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Autthawuttikul, S., Sungrugsa, N., & Lakananulak, S. (2017). The Model Development of Religious Tourism Management of Ratchaburi Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 2392-2409.
Cohen, J. M., & Uphoff, N, T. (1977). Rural Development Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. New York: The Rural Development Committee Center for international Studies. Cornell University.
Inpuwa, R. et al. (2016). The Roles of Public Participation in the Conservation of Cultural Tourism: A Case Study of Nakhon Phanom Province. (Research Report). Bangkok: Ramkhamhaeng University.
Kamdee, K. (2017). Temples and Religious Places in Dimension of Tourism. Journal of Language, Religion and Culture, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University, 6(2), 102-118.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press.
Maesee Kritsana Raksachom. et al. (2017). The Development of Local Networking for Buddhist and Cultural Tourism in ASEAN Community Management System. (Research Report). Bangkok: National Research Council of Thailand (NRCT) and The Thailand Research Fund (TRF).
Moral and Ethical Development Office Working Group. (2014). Operational Guidelines Project to Promote Tourism on the Pilgrimage Route in Religious Dimensions 2014, Issue 1. Bangkok: Department of Religious Affairs. Ministry of Culture.
Phrakhru Sutadhambhani, Phra Honda Vatasatto, Ketchatuurat, J. (2020). Thai Tourism Strategy 2017–2021 and Buddhist Tourism. Journal of Buddhist Education and Research: JBER, 6(1), 448-464.
Phramaha Suriya Aphiwatthano (Masunthia). (2015). Value Enrichment Strategy for Buddhism-Based Tourism Marketing In Royal Monasteries around Rattanakosin lsland. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Siam University. Bangkok.
Phramaha Suthit Aphakaro (Oboun). et al. (2013). The Model and Process of Buddhism-Based Tourism Development in Thailand. (Research Report). Bangkok: National Research Council of Thailand (NRCT) and The Thailand Research Fund (TRF).
Phrapalad Adisak Vajirapañño (Pimnon). (2019). Development on Model of Tourism Management in Sustainable and Peaceful Way: A Case Study of Wat Baan Khayung, Huaytamon Sub-District, Phusing District, Sisaket Province. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Pichphandaycha, P. (2018). Religious Tourism Management of Hong Kong Island Affecting Thai Tourists. (Master’s Thesis). Management of Cultural Heritage and Creative Industries College of Innovation: Thammasat University. Bangkok.
Raksaphol, S. (2016). Wat Prayurawongsawas-Warawihan’s Role in Promoting Multicultural of Tourism Community Based on Buddhist Peaceful Means. (Master’s Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Royal Thai Government. (2019). สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 1 ตุลาคม 2562. Retrieved October 1, 2019, from https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/23529
Wajangam, S. (2015). Buddhist Peaceful Means: Apraihaniyadhamma for Enhancing Sustainable Community Tourism: A Case Study of Ko Kret Community, Nonthaburi Province. (Master’s Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.