การบริหารจัดการหุ้นส่วนเชิงพื้นที่: ประสบการณ์การวิจัยการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาวะ จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ธารารัตน์ สัญญะโม
เริงวิชญ์ นิลโคตร
นริศรา กรุดนาค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการบริหารจัดการหุ้นส่วนเชิงพื้นที่ในการวิจัยบูรณาการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และ 2) นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการหุ้นส่วนเชิงพื้นที่ในการทำงานด้านสร้างเสริมสุขภาวะ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสนทนาเชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย 12 คน และการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มเป้าหมาย 34 คน ซึ่งกลุ่มบุคคลนี้เป็นกลุ่มแกนนำที่มีบทบาทต่อการสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ เป็นผู้มีส่วนร่วมและเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพเป็นการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตรวจสอบเนื้อหาด้วยเทคนิคสามเส้า และนำเสนอผลการศึกษาเชิงพรรณนาวิธี


ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการบริหารจัดการหุ้นส่วนเชิงพื้นที่ในการวิจัยบูรณาการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดราชบุรี มี 7 แนวทาง คือ การเสริมสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง การร่วมลงทุนจากภาคีหลายภาคส่วน การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลไกหลัก การสร้างกระแสให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ และการหล่อเลี้ยงเพื่อดำรงอยู่ของเครือข่าย และ 2) แนวทางการบริหารจัดการหุ้นส่วนเชิงพื้นที่ในการทำงานด้านสร้างเสริมสุขภาวะ มี 5 ด้าน คือ 1) การมีศูนย์กลางการประสานงานส่วนกลาง 2) จัดตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด 3) การจัดตั้งคณะทำงานในโซนพื้นที่เฉพาะประเด็น 4) การประเมินเสริมพลังและการจัดการความรู้ และ 5) การสรุปบทเรียนและยกระดับการทำงาน ผลการศึกษาและแนวคิดแนวทางการพัฒนาเครือข่ายเชิงการพัฒนานั้นมีความสอดคล้องกับสถานการณ์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้สู่วงจรการดำเนินงานสู่วงกว้างได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chareonwongsak, K. (2000). Network Management: Key Strategies for Management of Education Reform. Bangkok: Success Media Company Limited.

Chuengsatiansup, K. (2013). Community Way of Life, 7 Tools that Make Community Work Easy, Effective and Fun. (10th ed.). Nonthaburi: Suksala.

Coordinator. (2019). Coordinator in Ratchaburi Province. Focus Group. March, 22.

Monzon, P. et al. (2003). Filtering Concepts in Assessing the Potential of Social Networks. Bangkok: Local Community Development Institute.

Phramaha Suthit Aphakaro. (2004). Network: Nature, Knowledge and Management. Bangkok: Project to Enhance Learning for a Happy Community.

Pongpit, S. (2011). Community Health Management. Bangkok: P. A. Living Co., Ltd.

Research Leader 1. (2019). Research Leader Zone 1 in Ratchaburi Province. Interview. February, 20.

Research Leader 4. (2019). Research Leader Zone 4 in Ratchaburi Province. Focus Group. March, 22.

Sathapitanon, P., & Thiraphan, C. (2003). Communicating with Social Networks. Bangkok: Local Institute of Development.

Sriratanabal, A. (2017). Health Promotion and Community Empowerment. Bangkok: Office of Opportunity and Innovation (Office 6).

Suwan-achariya, C. (2006). Social Networks. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Thanyakiat, C., & Sanyamo, T. (2013). Summary of Knowledge Driven Project of Health Network Management: Ratchaburi Context. Ratchaburi: Integrated Health Promotion Project Suan Phueng Hospital.

Thienthavorn, W. (2012). New Health Promotion (80 Years Quality of Life). (2nd ed.). Bangkok: Office of Printing Works of the War Veterans Organization.

Wandee, I., & Nilkote, R. (2016). Good Health, Good Life, Happy: 10 Model Areas for Driving Intregration of Health on the Ratchaburi Way. Ratchaburi: Integrated Health Promotion Project in Ratchaburi.

Yoddamnoen-Attique, B. & Tangcholathip, K. (2009). Qualitative Data Analysis. Data Management, Interpretation, and Semantics. Nakhon Pathom: Population and Society Publishing House Mahidol University.